การบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในต่างประเทศของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

Main Article Content

พระมหากฤษณัฐ ไชยสิทธิ์
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และ (3) ตัวแบบการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ทั้งนี้ ได้นำการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม 6 ด้าน มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดสำคัญของการศึกษาครั้งนี้

            ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.89 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.88 ประชากร คือ พระภิกษุที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศผ่านทางวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร จำนวน 31,349 รูป กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศดังกล่าวที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,111 รูป ซึ่งได้มาจากการคำนวณเพื่อหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามหลักสูตรของทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 สิงหาคม 2559 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 952 รูป คิดเป็นร้อยละ 85.69 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,111 รูป วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้แล้ว ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน โดยเป็นสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวคนละ 60 นาที ด้วยแบบสอบถามเชิงลึกที่มีโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วย

            ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ วัดมีโครงสร้างการบริหารจัดการ หรือสายงาน หรือขั้นตอนที่เอื้ออำนวยต่อการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของพระภิกษุไม่มากเท่าที่ควร และวัดขาดตัวแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ วัดควรมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ หรือสายงาน หรือขั้นตอนที่เอื้ออำนวยต่อการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของพระภิกษุให้เป็นประโยชน์ต่อพระภิกษุเพิ่มมากขึ้น และ (3) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ควรกำหนดและนำตัวแบบการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ตามแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม 6 ด้าน ไปปรับใช้เป็นแนวทาง และตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน โดยตัวแบบการบริหารจัดการดังกล่าวควรเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การทำงานเป็นทีม 2) การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3) การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 4) การให้ความสำคัญผู้รับบริการ 5) การมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่เอื้ออำนวย และ 6) การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

 

 

Objectives of this study were significantly to examine (1) problems of administration to facilitate traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of Watsraket Ratchaworamahawihan, (2) development guidelines of administration to facilitate traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of Watsraket Ratchaworamahawihan, and (3) model of administration to facilitate traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of Watsraket Ratchaworamahawihan. The Total Quality Management Concept of 6 aspects was applied as crucial conceptual framework of this study.

            Research methodology of this study was planned the research design as a mixed methods research operating quantitative research as principal means and supported by qualitative research. The quantitative research was survey research with large field data collection and using questionnaires as research tool of the field data collection. The questionnaires passed pre-test of validity check at level of 0.89 and reliability check at level of 0.88. Population was all 31,349 Buddhist monks traveling to Buddhism dissemination in foreign countries through Watsraket Ratchaworamahawihan. Total of 1,111 samples of the monks were calculated by using Taro Yamane’s formula for sample size. Field data collection was exercised during August 1-30, 2016. 952 completed sets of questionnaire, which were equaled to 85.69 % of the 1,111 total samples, were returned. Data analysis was performed in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, standard deviation, multiple regression, and Pearson’s Correlation Coefficient. In addition, in-depth interview of 9 experts or key informants, with face to face interview of 60 minutes each together with structured in-depth interview form, was also applied in order to obtain the qualitative data.

            Research findings were (1) the main problems of administration were Watsraket Ratchaworamahawihan' s unfavorable structure of administration, hierarchy of command, or process of facilitating the traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of the monks, as well as, lacking of administrative model according to the Total Quality Management, and (2) the main development guideline of administration was Watsraket Ratchaworamahawihan should increasingly improve the structure of administration, the hierarchy of command, and the process of facilitating the traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of the monks particularly for the monks' benefits, and (3) Watsraket Ratchaworamahawihan should create the model of administration to facilitate traveling of Buddhism dissemination in foreign countries of Watsraket Ratchaworamahawihan according to the Total Quality Management Concept of 6 aspects and apply as guideline and Key Performance Indicators (KPI). The model of administration should, in priority, as follows: teamwork, explicit objective, continuous performance improvement, customer focus, supportive or favorable structure of administration, and effective communication.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พระมหากฤษณัฐ ไชยสิทธิ์

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จังหวัดปทุมธานี 12100

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

รองศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จังหวัดปทุมธานี 12100

References

กัลยา งามพร้อมสกุล และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2559) "การจัดการเพื่อส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร" วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) 2559 : 215-229.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2557). การบริหารจัดการตามแนวคิดตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โฟร์เพซ.

เอนก ตาดอุไร. (2559). "การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) 2559 : 107-115.

Aberbach, Joel D. and Rockman, B. A. (1992) “Does Governance Matter--And If So how, How? Process, Performance, and Outcomes”, Governance 5 (April 1992): 135-153.

Aberbach, Joel D. and Peele, Gillian. (2011). Crisis of Conservatism? New York: Oxford University Press, Inc.

Biernacki, Patrick. and Waldorf, Dan. (1981). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling”, Sociological Methods & Research, 10, 2 (1981): 141-163.

Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.

Yamane, Taro. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.