สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

สุภรัชต์ อินทรเทพ
สุวารีย์ ศรีปูณะ
ผมหอม เชิดโกทา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการถ่ายทอดภูมิปัญญาและแนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน จังหวัดสระแก้ว โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการจัดสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 18 คน ได้แก่ หมอยาพื้นบ้าน อำเภอละ 1 คน รวม 9 คน และผู้ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำหน่าย อำเภอละ 1 คน รวม 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่ามีปัญหาการถ่ายทอด คือ ปราชญ์ในชุมชนมุ่งถ่ายทอดให้เฉพาะคนในครอบครัวและญาติเท่านั้น ทำให้มีจำนวนผู้รู้ที่สามารถใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันในชุมชนมีน้อย ไม่มีการบันทึกข้อมูลภูมิปัญญาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ขาดผู้นำและหน่วยงานสนับสนุนในการถ่ายทอด ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่นิยมสืบทอดภูมิปัญญาการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพร วิธีการถ่ายทอดของปราชญ์ใช้การบอกเล่าและฝึกปฏิบัติขาดความเป็นระบบ ส่งผลให้พืชสมุนไพรในป่าและในสวนรอบบ้านลดลงเป็นการเสียสมดุลของทรัพยากรชีวภาพ แนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ควรรณรงค์ให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยการดูแลรักษาฟื้นฟูป่าที่เป็นแหล่งสมุนไพร และขยายพันธุ์ปลูกเพิ่มในพื้นที่สวนครัวรอบบ้านเพื่อสะดวกแก่การใช้ประโยชน์และสร้างสิ่งแวดล้อมที่สวยงามให้แก่ชุมชน ควรปรับปรุงรูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านให้เป็นระบบ โดยให้มีสาระในการถ่ายทอดที่ครอบคลุมทั้งการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์และการแปรรูปทั้งเพื่อเป็นอาหารเป็นยา ผู้ถ่ายทอดหลักควรเป็นปราชญ์ โดยมีนักวิชาการเสริมและสนับสนุนโดยผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระบวนการถ่ายทอดควรมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การให้ความรู้ การสร้างเจตคติ และการฝึกทักษะ โดยใช้วิธีการถ่ายทอดที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การใช้สื่อ การวิเคราะห์  ศึกษาจากกรณีตัวอย่างและการฝึกปฏิบัติ ควรสร้างสื่อวีดีทัศน์ ที่ใช้ในการถ่ายทอดเป็นคู่มือความรู้พืชสมุนไพร ผู้รับการถ่ายทอดต้องสมัครใจและมุ่งเพื่อให้เกิดความรู้ และเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และใช้สมุนไพรเพื่อการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างจริงจัง

 

 

The purpose of this research is to study the problems of the transfer of wisdom and the way to develop the wisdom of using local herbs for environmentally friendly living of community in Srakaew Province. Data were collected by interview and group discussion from 18 key informants, 9 local medicine men in 9 districts and 1 herbalists distribute 1 person per district, including 9 people. Analysis of data by content analysis and use descriptive statistics. The study indicated that there are problems of wisdom transmission. The local medicine men in the community aims to convey their knowledge to family members and relatives only. This results in people who can use the herb in everyday life in the community gradually decrease. There is no written record of wisdom and lack of leaders and support agencies to convey as well as the uninteresting of new generation  in conservation and use of herbs. The wisdom of traditional medicine transferred by telling and practicing without systematically. As a result, the herbs in the forest and in the garden around the house were decreased. This can affect to biological resources. The development of transfer of using traditional herbs wisdom should promote by taking care of the restoration of the forest as a source of herbs as well as cultivate the planted area in the garden around the house for convenience and create a beautiful environment for the community. We should improve the pattern of wisdom transfer systematically by providing a comprehensive coverage of conservation, utilization and processing for both food and medicine. The principal communicator should be local philosophers with academic support and support from community leaders and local government organizations. The process should have 3 steps including provide education, attitude building and skill training by a variety of transmission methods such as lectures, media use, case study analysis, and practice. The media of knowledge such as video should be provided. Learners have to concentrate of knowledge and a good attitude towards the conservation and use of herbs for living environmentally friendly in the community.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สุภรัชต์ อินทรเทพ

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาสิ่งแวดศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

สุวารีย์ ศรีปูณะ

อาจารย์ ผศ.ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

ผมหอม เชิดโกทา

อาจารย์ อ.ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

References

กิจจาศักดิ์ บุญปลูก และคณะ. (2554). การใช้สมุนไพรใบพลูในการรักษาและแผลอักเสบ เกิดฝีหนอง. โรงพยาบาลสิ่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะแวะ.

จักพงศ์ แท่งทอง. (2550). พืชสมุนไพรในวิทยาเขตบ้านยางน้อยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นภากุล นิละโคตร. (2553). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในพื้นที่ชุ่มน้ ากุดทิง อำเภอบึงกาฬ จังหวัด หนองคาย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นเรนทร์ คณานิตย์. (2551). การพัฒนากลุ่มอนุรักษ์สมุนไพรบ้านวนารมย์ เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2557). การวิจัย ชุดวิชา13734 การจัดการความรู้ แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปพิชญา ไชยเหี้ยม. (2555). ภูมิปัญญหาท้องถิ่นกับการใช้สมุนไพร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 จากhttp://sukanya1969.blogspot.com/2012/05/23000-500.html

ประภาศรี ธนากูล สุวารีย์ ศรีปูณะ และ สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. (2017). การเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานด้วยสมุนไพรพื้นบ้านโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(2).

ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2557). วิถีการดูแลรักษาสุขภาพในระบบ การแพทย์พื้นบ้านล้านนา (4th ed.).

ยุคล ละม้ายจีน. (2550). ความหลากหลายของพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สนธยา พลศร. (2550). เครอข่ายการเรียนรูในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร.

สุวรรณี ไชยชนะ. (2547). กระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการจัดการความหลากหลายของพืชสมุนไพรชุมชนปกากะญอ : กรณีศึกษาบ้านหนองหลัก ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 จาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/14258

อรรคเดช มหาวงศนันท์. (2551). การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของชาวปกาเกอะญอ : กรณีศึกษาบ้านห้วยส้มป่อย ลุ่มน้ำแม่เตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cornell, S. (2012). Differentiating among incretin therapies: A multiple-target approach to type 2 diabetes. Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. https://doi.org/10.1111/j.1365-2710.2012.01342.x

Prapasri Tanakool, Suwaree Sripoona, S. S. (2017). Evaluation Pattern for the Health of Diabetes Patients with Traditional Herbs by the Environmental Education. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science, 12(1)