การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม
วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 3. เพื่อสอบถามความพึงพอใจของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในโรงเรียนเครือข่าย ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง โดยเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านเน็ตเวิร์กและเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีระยะเวลา 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.3 กระบวนการฝึกอบรม 1.4 กิจกรรมการเรียนรู้ 1.5 สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 1.6 การวัดและประเมินผลการอบรม โดยกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กำหนดเป้าหมาย 2. วางแผนการดำเนินงาน 3. การพัฒนาผลงาน 4. นำเสนอผลงาน และ 5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีผลคะแนนการฝึกปฏิบัติโดยรวมร้อยละ 79.67 มีคะแนนสอบหลังอบรมของ ผู้เข้าอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมผ่านระบบการฝึกอบรมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 


 


               The objectives of the research were 1. to develop an online training curriculum of the ICT community learning centers, Faculty of Information Technology, Rajabhat Maha Sarakham University, 2. to implement the training curriculum to the teacher of ICT, and 3. to conduct a survey on the satisfaction of the trainees with the curriculum. The samples were thirty teachers of the ICT community learning network of faculty of Information Technology, Rajabhat Maha Sarakham University. They were selected by the purposive random sampling technique. The instrument was an online training curriculum, an assessment form, and a questionnaire. The statistics used were mean and standard deviation. The t-test dependent sample was employed for hypothesis testing. The study showed that the 18-hour-training curriculum consisted of six components: 1.1 rationale, 1.2 learning objectives, 1.3 training process, 1.4 learning activities, 1.5 teaching material and learning source, and assessment and evaluation. The learning activities included five steps: 1. setting goal, 2. planning for task, 3. developing task, 4. presentation and learning exchange. The average appropriateness of the training curriculum assessed by the experts was at the highest level. The average score of the trainees after implementing the curriculum was 79.67%.The average post-test score of the trainees was higher than that of pre-test score at the .05 level of the statistical significance. The overall satisfaction of the trainees with the online training curriculum was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กาญจนา ดงสงคราม

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

วรปภา อารีราษฎร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

ปิยนันท์ ปานนิ่ม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559).
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547,1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก. หน้า 1-24.
ยุภา คำตะพล. (2556). ระบบบริหารจัดการการฝึกอบรมออนไลน์ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
รุจิรา เรือนเหมย และคณะ. (2558). การศึกษาองค์ประกอบของแบบจำลองการฝึกอบรมทางไกลเพื่อ พัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูในถิ่นพื้นที่สูงและทุรกันดาร ชายแดนทิศตะวันตกของประเทศไทย วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ เมษายน พ.ศ. 2558.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ และสำราญ กำจัดภัย. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559).
Best, John W. (1997). Research in Education. .ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice – Hell, lnc.