การศึกษาค่าสะท้อนพลังงานของมันสำปะหลังจากข้อมูลดาวเทียม ในเขตอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ขัตติยานี ศรีแฉล้ม
สุพรรณ กาญจนสุธรรม
แก้ว นวลฉวี
ณรงค์ พลีรักษ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาค่าสะท้อนพลังงานของมันสำปะหลังจากข้อมูลดาวเทียม ในเขตอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสะท้อนพลังงานของช่วงคลื่นและจัดทำสเปกตรัมไลบารี่ของมันสำปะหลังในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต ประกอบด้วยระยะที่ 1 ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาราก สะสมอาหาร และลงหัว และระยะที่ 3 ระยะเก็บเกี่ยว ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ได้ศึกษาช่วงคลื่นของมันสำปะหลังที่ปลูกตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยบันทึกภาพหลายช่วงเวลา ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษา 4 ช่วงคลื่น ได้แก่ ช่วงคลื่นสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง และอินฟาเรดใกล้ ที่ผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้ว ทั้งนี้ได้เก็บข้อมูลระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังในพื้นที่ศึกษา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 แล้วนำข้อมูล 4 ช่วงคลื่นนี้มาวิเคราะห์หาค่าสะท้อนพลังงานที่แท้จริงของมันสำปะหลัง


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะการสะท้อนช่วงคลื่นของมันสำปะหลังในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นมีการสะท้อนต่ำ เนื่องจากคลอโรฟิลล์จะมีอิทธิพลต่อการดูดกลืนพลังงานมาก และในช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้พืชจะสะท้อนพลังงานสูงเนื่องจากคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในใบพืชสามารถตอบสนองพลังงานที่มาตกกระทบในช่วงคลื่นนี้ได้ดี 2) การจัดทำสเปกตรัมไลบารี่ของมันสำปะหลัง พบว่า ลักษณะของลายเซ็นช่วงคลื่นที่ขึ้นลงแตกต่างกันตามช่วงความยาวคลื่น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่มีผลต่อการสะท้อนพลังงานของพืชพรรณ โดยค่าการสะท้อนพลังงานที่แท้จริงของมันสำปะหลังในช่วงระยะการเจริญเติบโต ระยะที่ 1 ช่วงอายุ 1 เดือน เท่ากับ 0.0399 ถึง 0.3566 และช่วงอายุ 2 เดือน เท่ากับ 0.0287 ถึง 0.3404 ระยะที่ 2 ช่วงอายุ 6 เดือน เท่ากับ 0.0265 ถึง 0.5709 และ ระยะที่ 3 ช่วงอายุ 9 เดือน เท่ากับ 0.0273 ถึง 0.4573   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์. (2519). มันสำปะหลัง, 12 กรกฎาคม 2559. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.phtnet.org/article/viewarticle.asp?aID=61.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2552). หลักการพื้นฐานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ.
(องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2557. รายงานฉบับสมบูรณ์.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Congalton, R.G., and K. Green, (1999). Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data:
Principles and Practices, Lewis Publishers, Boca Raton, Florida, 137 p.
Myneni, R.B., and Asrar, G. (1994). Atmospheric effects and spectral vegetation indices.
Remote Sensing of Enviroment. Vol 47, pp. 390-402.
USGS. (2015). Using the USGS Landsat 8 Product. 18 กรกฎาคม 2559. Usgs science for
changing worldhttp://landsat. usgs.gov/Landsat8_Using_Product.php.