ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของชุมชนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกซ้ำซาก กับชุมชนที่มีการระบาดน้อย เขตพื้นที่ตำบลพระอินทราชา อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ทัศพร ชูศักดิ์
เนตรนภา สาสังข์
สมชาย ดุรงค์เดช

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของชุมชนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกซ้ำซากกับชุมชนที่มีการระบาดน้อย เขตพื้นที่เทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ตัวแทนของครัวเรือน  เขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพระอินทราชา จำนวน 370 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยที่เป็นอิสระต่อกัน


                   ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพของชุมชนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกซ้ำซาก ส่วนใหญ่  อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.1 และความเชื่อด้านสุขภาพของชุมชนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 53.1 และจากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพของชุมชนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกซ้ำซากกับชุมชนที่มีการระบาดน้อย พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2541). คู่มือวิชาการโรคไข้เลือดออกเดงกิว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
รัตติกร แสนวัง. (2553). การเปรียบเทียบความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
ของประชาชนระหว่างหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของ
โรคไข้เลือดออกต่ำ ในเขตอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วลีรัตน์ พึ่งอยู่. (2552).แนวทางการส่งเสริมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลมหาราช
อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์
การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุทธิพงษ์ นาคมูล. (2546). เปรียบเทียบการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุม
โรคไข้เลือดออก ระหว่างหมู่บ้านที่พบอุบัติการณ์ของโรคสูงและไม่พบโรคไข้เลือดออก อำเภอน้ำปาด
จังหวัดอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2558). รายงานสรุปผลงานพัฒนาสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ปี 2558.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางประอิน. (2558). รายงานสรุปผลงานพัฒนาสาธารณสุขอำเภอบางประอิน
จังหวัดปทุมธานี ปี 2558.
สำนักระบาดวิทยา. (2553). Annual Report: 2545-2553. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement,30(3), 608.
Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior.
In M. H. Becker(Ed), The health belief model and personal behavior(pp. 27-59).
New Jersey: Charles B. Slack.
World Health Organization. (1999). Prevention and Control of Dengue and Dengue
Hemorrhagic Fever: Comprehensive Gridlines. WHO Regional Publication. SEARO,
No 29, New Delhi. (p 3-9 ).