การศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องปั้นดินเผามอญภาคกลาง เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

กฤตยชญ์ คำมิ่ง
คนึงนิต ปทุมมาเกษร

บทคัดย่อ

            โครงการศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องปั้นดินเผามอญภาคกลางเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมอญภาคกลางที่เกี่ยวกับลวดลายเครื่องปั้นดินเผา และเพื่อการออกแบบและพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามอญภาคกลางให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นและตรงตามความต้องการของตลาด ผลจากการวิจัย พบว่า วิถีของชุมชนมอญเกาะเกร็ดเป็นชุมชนที่ดำเนินธุรกิจในครอบครัวโดยการผลิตสินค้าเครื่องปั้นดินเผาเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกและยังคงใช้ลวดลายแบบร่วมสมัย ส่วนการออกแบบและพัฒนาลวดลายเครื่องปั้นดินเผาใช้แบบประเมินข้อมูลเชิงสำรวจ (Survey Research Method) และการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ส่วนที่ 1 ด้านข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนที่ 2 ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ประเภทโคมไฟ ร้อยละ 30 และส่วนที่ 3 ด้านลวดลายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการตกแต่งมีลายดอกไม้ ลายเครือเถา ลายสร้อยคอ และลายพวงมาลัย ซึ่งทั้งหมดมีความพึงพอใจระดับมาก ภาพรวมการออกแบบลวดลายเครื่องปั้นดินเผามอญมีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 91.67 และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 8.33

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ชัญญากานด์ ปิตุภูมินุรักษ์. (2553). กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและบริบทของชุมชนที่เกี่ยวข้องของ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นาถวุฒิ พรึงลำภู. (2555). การศึกษารูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ภูมิปัญญาจังหวัดนนทบุรีเพื่อการออกแบบชุดตกแต่งสวนไทย : กรณีศึกษารีสอร์ทบางพลัด.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พิศาล บุญผูก. (2553). เครื่องปั้นดินเผานนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการ
แก่สังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา ลาดพร้าว.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2545). ออกแบบกราฟค. กรุงเทพมหานคร: อีแอนดไอคิว.
. (2531). ออกแบบกราฟค. กรุงเทพมหานคร: วิฌวลอารต.
วิลภา กาศวิเศษ. (2553). การพัฒนาลวดลายเพื่อการออกแบบจากอิทธิพลศิลปะบ้านเชียง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วาสนา เจริญวิเชียรฉาย. (2552). การวิจัยเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากวัสดุเหลือใช้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศุภพงศ์ ยืนยง. (2547). หลักการเขียนภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ศิลป์ พีระศรี. (2536). คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง. การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์.กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผา พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร:
บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
สุชาติ เถาทอง. (2538). หลักการทัศนศิลป. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นําอักษรการพิมพ.
สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารี สุทธิพันธ์. (2524). การออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.