การตรวจหา คุณลักษณะ และการยับยั้งเชื้อราของไคโตซาเนสจากพืชไทย

Main Article Content

มานะ ขาวเมฆ

บทคัดย่อ

การตรวจหาเอนไซม์ไคโตซาเนสจากต้นอ่อนพืชไทยจานวน 32 ชนิดใน Family Gramineae 21 ตัวอย่าง และ Leguminosae 11 ตัวอย่าง พบไคโตซาเนสจากต้นอ่อนพืชทั้ง 32 ตัวอย่าง มีค่ากิจกรรมจาเพาะสูงในช่วงอายุ 2–4 สัปดาห์ โดยมีค่ากิจกรรมจาเพาะอยู่ในช่วง 2.0812 - 32.9345 ยูนิต/มิลลิกรัม ต้นอ่อนพืชที่มีค่ากิจกรรมจาเพาะมากกว่า 10 ยูนิต/มิลลิกรัม มีจานวน 12 ชนิด เรียงจากมากไปน้อยดังนี้คือ ข้าวสกลนคร ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข6 ข้าวโกชิฮิการิ ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 ข้าวเหนียวดา ข้าวเหลืองประทิว 123 ข้าวสุพรรณบุรี 1 ข้าวสุพรรณบุรี 90 ข้าวสุพรรณบุรี 60 และข้าว กข8 โดยไคโตซาเนส ที่สกัดจากข้าวสกลนคร อายุ 2 สัปดาห์ มีค่ากิจกรรมจาเพาะสูงที่สุดคือเท่ากับ 32.9345 ยูนิต/มิลลิกรัม และสีเสียดแก่นมีค่ากิจกรรมจาเพาะต่าสุดคือ 2.0812 ยูนิต/มิลลิกรัม พีเอชที่เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาของ ไคโตซาเนสของต้นอ่อนพืชทั้ง 32 ชนิด อยู่ในช่วง 3.5 - 6.0 และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยา อยู่ในช่วง 40 – 60 องศาเซลเซียส
การยับยั้งเชื้อราของเอนไซม์ไคโตซาเนสจากต้นอ่อนพืชทั้ง 32 ชนิด พบว่า ไคโตซาเนสจากต้นอ่อนพืช ที่มีค่ากิจกรรมจาเพาะสูงจะมีความสามารถในการยับยั้งชนิดของเชื้อราได้มากกว่า และใช้ไคโตซาเนสปริมาณน้อยกว่า ในการยับยั้งเชื้อรา โดยไคโตซาเนสจากต้นอ่อนพืช 12 ชนิด ที่มีค่ากิจกรรมจาเพาะสูงกว่า 10 ยูนิต/มิลลิกรัมสามารถยับยั้งเชื้อราได้ 7 ชนิดจาก 8 ชนิด โดยใช้ไคโตซาเนสในการยับยั้งเชื้อราปริมาณ 10 - 15 ไมโครกรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย