การศึกษาคุณสมบัติบางประการของฟิล์มคีแตม

Main Article Content

พรพธู อัดแอ
วุฒิชัย นาครักษา

บทคัดย่อ

ศึกษาปริมาณเจลโลสที่เหมาะสมในการผลิตฟิล์มคีแตม โดยใช้ไคโตซาน 0.25 กรัมต่อเจลโลส 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 กรัม ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง FTIR พบว่า ฟิล์มคีแตมมีพีคในช่วง Wavenumbers 1635.37 ถึง 1636.84 cm-1 ปรากฏ แสดงให้เห็นถึงการเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไคโตซานและเจลโลสที่เรียกว่า คีแตม (Chitam) และเมื่อนำฟิล์มที่ได้มาตรวจสมบัติบางประการของฟิล์มคีแตมที่ผลิตได้ พบว่า เมื่อดูภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พื้นผิวของฟิล์มคีแตมจะมีลักษณะขรุขระ ซึ่งฟิล์มคีแตมที่อัตราส่วนไคโตซานต่อเจลโลส 1:4 มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นดีที่สุด และเมื่อเพิ่มปริมาณเจลโลสจะส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ปนเปื้อนในฟิล์มคีแตมมีปริมาณลดลง แต่เมื่อนำมาตรวจความต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (Clear zone) พบว่า ฟิล์มคีแตมไม่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์

Article Details

บท
บทความวิจัย