การบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีการปนเปื้อนของฟอสฟอรัสด้วยดินในสภาวะน้ำขัง

Main Article Content

ณัฐกร อินทรวิชะ
ภาณุชัย ประมวล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณฟอสฟอรัสในน้ำเสียสังเคราะห์ต่อการบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยทำการวางแผนการทดลองแบบ 3x4 แฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยการทดลองประกอบด้วย ปัจจัยที่ 1 คือน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีน้ำตาลกลูโคส 200 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับฟอสฟอรัสที่ความเข้มข้น 3 ระดับ คือ 0 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปัจจัยที่ 2 คือระยะเวลาในการขังน้ำเสียสังเคราะห์ 4 ระดับ ได้แก่ 0 1 3 และ 5 วันตามลำดับ ดินที่ใช้ในการศึกษาคือดินจากอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม


ผลการศึกษาพบว่าปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการในการบำบัดน้ำเสียทางเคมี (COD) ลดลงตามระยะเวลาที่ขังน้ำอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) แต่ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในน้ำเสียสังเคราะห์กับการลดลงของค่า COD ในน้ำเสียงสังเคราะห์ (P<0.05) ในส่วนของปริมาณฟอสฟอรัส พบว่าปริมาณของฟอสฟอรัสในน้ำเสียสังเคราะห์สามารถบำบัดได้จนอยู่ในระดับไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ตั้งแต่ระยะเวลาขังน้ำเสียสังเคราะห์ที่เวลา 1 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย