การต้านอนุมูลอิสระของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตด้วยไคโตซาเนสจากก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630

Main Article Content

มานะ ขาวเมฆ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการต้านอนุมูลของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตด้วยไคโตซาเนสจากก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 อายุ 2 สัปดาห์ ด้วยอะซิเตตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.1 โมลาร์ พบว่า มีค่ากิจกรรมจำเพาะอยู่ในช่วง 0.0061-10.8040 ยูนิต/มิลลิกรัม โดยไคโตซาเนสจากก้ามปูมีค่ากิจกรรมจำเพาะสูงที่สุด รองมาเป็นข้าว กข. 6 กระถินบ้าน และข้าวฟ่าง เคยู 630 ตามลำดับ พีเอชที่เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาของไคโตซาเนสที่สกัดจากต้นอ่อนก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 มีค่าเท่ากับ 4.5, 3.5, 4.5 และ 4.5 ตามลำดับ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาของไคโตซาเนสที่สกัดจากต้นอ่อนก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 มีค่าเท่ากับ 45, 45, 45 และ 65 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยของไคโตซาเนสที่สกัดจากต้นอ่อนก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 ที่ใช้เวลาย่อย 30 นาที จะมีไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ขนาด 1-6 ((GlcN)1-6) และจะมีโมเลกุลขนาดเล็กของ (GlcN)2 และ (GlcN)3 เพิ่มขึ้น เมื่อใช้เวลาบ่มเพิ่มเป็น 1, 2 และ 4 ชั่วโมง ในขณะที่ (GlcN)4, (GlcN)5 และ (GlcN)6 ลดลง โดยไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ขนาดใหญ่ ((GlcN)4, (GlcN)5 และ (GlcN)6) ที่ใช้เวลาบ่มที่ 30 นาทีของก้ามปูจะมีปริมาณมากที่สุด รองมาเป็นกระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 ตามลำดับ ไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากไคโตซาเนสจากต้นอ่อนก้ามปู กระถินบ้าน ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 สามารถต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และวิธี 1,10 ฟีแนนทรอลีนได้เหมือนกัน โดยเรียงตามลำดับคือ กระถินบ้าน ก้ามปู ข้าว กข. 6 และข้าวฟ่าง เคยู 630 โดยไคโตโอลิโกแซคคาไรด์จากก้ามปูและกระถินบ้าน สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า BHT เมื่อเปรียบเทียบค่า EC50

Article Details

บท
บทความวิจัย