การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในยาแผนโบราณ

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน
ปิยะพัฒน์ สุนทรศาสตร์

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ใน   ยาแผนโบราณ ทั้งหมดจำนวน 27 ตัวอย่าง จากจังหวัดปทุมธานี ทำการย่อยตัวอย่างด้วยกรดไนตริกเข้มข้น      30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร และวิเคราะห์โลหะหนัก ได้แก่ คือ ทองแดง สังกะสี สารหนู แคดเมียม และตะกั่ว ด้วยเทคนิคอินดักทีฟลี่ คับเปิ้ล พลาสมา-ออฟติคอล อิมิสชั่น สเปกโตรเมทรี (ไอซีพี–โออีเอส) และทำการวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Salmonella spp. และ
Clostridium spp. และจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ใช้อากาศ ผลการวิจัยพบว่า ในยาแผนโบราณชนิดน้ำ และชนิดเม็ด ไม่พบโลหะหนัก แต่ในยาแผนโบราณชนิดผง พบทองแดงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0-8.122 mg/kg  สังกะสีเฉลี่ยอยู่ในช่วง     0-14.711 mg/kg  สารหนูเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0-4.900 mg/kg  แคดเมียมเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0-0.300 mg/kg ตะกั่วเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0-0.300 mg/kg ผลของการวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด คือ Staphylococcus aureus Salmonella spp. และ Clostridium spp. ในยาแผนโบราณ พบว่า ในยา
แผนโบราณทั้งชนิดน้ำ ชนิดผง และชนิดเม็ด ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด และผลของการวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ใช้อากาศ ในยาแผนโบราณชนิดน้ำและชนิดเม็ด ตรวจสอบไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ใช้อากาศ แต่ชนิดผงตรวจสอบพบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ทั้งหมดคือ 0 - 3.2x105 cfu/g จากผลการทดลองนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและตำรามาตรฐานยาแผนไทย พบว่าในตัวอย่างยาแผนโบราณนั้นมีปริมาณโลหะหนักและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ยอมให้ปนเปื้อนได้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคขององค์การอนามัยโลก

 

Article Details

บท
บทความวิจัย