ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมฤทธิผลในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

Main Article Content

เดือนฉาย ไชยบุตร
กาญจนา ทองบุญนาค
สัมฤทธิ์ เสนกาศ
ณัฐิยา ตันตรานนท์

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทต่อการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง ที่มีผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการประยุกต์ใช้ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันให้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศให้เกิดประสิทธิผล โดยศึกษาความเป็นไปได้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อค้นหาปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันให้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษา โดยใช้กลุ่มนักศึกษามีการเรียนในรายวิชาที่ใช้สังคมออนไลน์ในสื่อสารในการเรียนและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำการตอบแบบสอบถาม รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์โมเดลการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ และแนวทางการพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน

จากการศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์ใช้ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันให้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาประกอบด้วย 1) รูปแบบหรือโมเดลการยอมรับในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเพิ่มขยายการเป็นส่วนตน (Personality), 2) คุณลักษณะและบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน และ 3) คุณภาพของเว็บไซต์เพื่อดึงดูดความต้องการในการใช้งาน ส่วนการพัฒนาโมเดลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศให้เกิดประสิทธิผล จากการวิจัยพบว่ามีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1) ผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) กระบวนการบริหารโครงการและกระบวนการ และ 4) สภาพแวดล้อม เพื่อเป็นใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประไพพรรณ ศรีปาน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานธนาคารทิสโก้จำกัด (มหาชน) ส่วนงานควบคุมและสินเชื่อรายย่อย สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภควัต รักศรี. (2553). เครือข่ายสังคม (Social Network), 18 สิงหาคม 2557. สภาวิศวกร http://www.coe.or.th/e_engineers/knc_detail.php?id=170

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. (2550) โครงการจัดทำเนื้อหาระบบ E-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, 26 กันยายน 2556. http://edltv.thai.net/index.php?mod=Message&op=aboutus

วสันต์ ทองไทย (ดร). การประเมินผลการเรียนรู้, 31 สิงหาคม 2556. http://www.bpcd.net/new_subject/library/research/document/sopida/research/ku/develop/08.pdf

สุรีย์ ฟูนิลกุล. (2551). รูปแบบการพัฒนาระบบประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิกส์และคุณภาพของระบบ (e-Democracy System Development Framework and Its Quality), วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก. (2556). การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development), 18 ตุลาคม 2556. http://www.forest.go.th/phitsanulok/index.php?option=com_content&view=article&id=517%3Ap9&catid=13%3A2010-06-04-06-%25M-%25S&lang=th

อลิสรา คูประสิทธิ์. (2552) แบบทดสอบบุคลิกภาพ, 7 ตุลาคม 2556. http://www.tistr.or.th/tistrblog/?tag=16-personality-factor

Bai B., Law R. and Wen I. (2008). The Impact of Website Quality on Customer Satisfaction and Purchase Intentions: Evidence from Chinese Online Visitors, International Journal of Hospitality Management (pp. 391-402). Elsevier

Bonk C.J. and Wisher R.A. (2000). Applying Collaborative and E-Learning Tools to Military Distance Learning: A Research Framework. United Stated Army Research Institute.

Davis F.D. (1985). A Technology Acceptance Model for Empirically Testing New End-user Information Systems: Theory and Results, Ph.D. Dissertation, MIT Sloan School of Management, Cambridge, MA.

Davis F.D., Bangozzi R.P. and Warshaw P.R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, Vol. 35 (8), 982-100.

DeLone, W.H. and McLean, E.R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten Year Update, Journal of Management Information Systems, Vol. 19(4), 9-30.

Johnson D. and Johnson R. (1994). Learning Together and Alone, Cooperative, Competitive, and Individualistic Learning. Needham Heights: Prentice-Hall.