ประสิทธิภาพของสาหร่ายเดนซ่า (Egeria densa Planch.) สำหรับการบำบัดน้ำเสีย จากหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

ณัฐกานต์ ทองพันธุ์พาน
สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์

บทคัดย่อ

การบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยการใช้พืชน้ำกลุ่มต่างๆเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียชุมชนและปรับปรุงคุณภาพน้ำ  การบำบัดน้ำโดยวิธีการพึ่งพาธรรมชาติจึงเป็นที่นิยมและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้จึงเลือกใช้สาหร่ายเดนซ่า  (Egeria densa Planch.)  เพื่อศึกษาความสามารถและความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเสียบางประการ  ได้แก่  SS,  COD,  NO3-  และ  PO43- จากหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์  เป็นเวลา  4  สัปดาห์

ผลการศึกษาพบว่าสาหร่ายเดนซ่า  (Egeria densa Planch.)  มีความสามารถในการบำบัด  SS  ได้ถึงร้อยละ  62.14  และร้อยละ  11.21  ในการบำบัด  COD  ของน้ำเสียที่มีความเข้มข้นร้อยละ  50  และการบำบัด  PO43-  ร้อยละ  6.12  ของน้ำเสียที่มีความเข้มข้น  ร้อยละ  75  ช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพในการบำบัด ดีที่สุด คือ ช่วงเวลาสัปดาห์ที่  2  และร้อยละของความเข้มข้นของน้ำเสียที่เหมาะสม คือ ร้อยละ  50 - 75   จากการศึกษา  พบว่า  สาหร่ายชนิดนี้สามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำได้ถึงร้อยละ  11.63  และสาหร่ายเดนซ่านั้นมีการเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีแสงแดดปานกลางถึงมากซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วง  pH 5-10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มาตรฐานการควบคุมน้ำทิ้งจากอาคาร บางประเภท. [online] เข้าถึงจาก http://pcd.ac.th/infofile.go.th/law/3_41_water.pdf : 2555.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มาตรฐานการควบคุมน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม. [online] เข้าถึงจาก http://pcd.ac.th/info_serv/ req_std water04.html : 2555.

ไตรภพ อินทุใสและคณะ. 2546. เทคนิคการบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ธิดา โชติกเสถียร. 2546. สัณฐานวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ของพืช. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ภัทรานิษฐ์ เปลี่ยนไธสง. พืชที่มีคุณสมบัติการบำบัดน้ำเสีย. [online] เข้าถึงจากhttp://wqm.pcd.go.th/water/index.php :2556.

มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์. 2540. คู่มือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.