การควบคุมคุณภาพการตอกเสาเข็มโดย สูตรของ Danish ในมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

ธราพงษ์ พัฒนศักดิ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็มตอกโดยใช้สูตร Danish และหาการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยด้วยอัตราส่วนความปลอดภัยเท่ากับ  2.5, 3.0, 3.5  4 และ 4.5  ผลน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่คำนวณได้นี้จะนำมาเทียบกับผลทดสอบเสาเข็มโดยวิธีสถิตยศาสตร์ (static pile load test)

          ค่าน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มด้วยการใช้อัตราส่วนความปลอดภัยเท่ากับ 2.5, 3.0, 3.5,4 และ4.5 มีค่าสู.งกว่าผลทดสอบเสาเข็มโดยวิธีสถิตยศาสตร์ (static pile load test ) เท่ากับ 81, 51, 30, 13 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่คำนวณได้จากสูตร  Danish ด้วยการใช้อัตราส่วนความปลอดภัยระหว่าง 4 ถึง4.5  ให้ผลใกล้เคียงกับผลทดสอบเสาเข็มโดยวิธีสถิตยศาสตร์ (static pile load test )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานการจัดการความรู้ในองค์กรกรมทางหลวง ด้านที่ 3 และ คณะทำงานจัดทำองค์ความรู้งานเสาเข็ม ในการก่อสร้างทางหลวง (2551) งานเสาเข็มในการก่อสร้างทางหลวง กรมทางหลวง

บริษัท เคเคทีเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (2555) รายงานผลเจาะสำรวจดิน โครงการโครงการอาคารเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ, อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บริษัท เคเคทีเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (2555) รายงานการทดสอบเสาเข็ม static pile load test โครงการโครงการอาคารเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ, อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ณัฐมนต์ กัมปนานนท์, สมชัย อวยพรประเสริฐ (2550) เทคนิคและปัญหาของงานเสาเข็มตอกคอนกรีตอัดแรงในประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เอกสารประกอบการบรรยายโครงการอบรมเรื่อง“การออกแบบฐานราก 1 รุ่นที่ 4, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สุเวช ชลานันนต์, บัญชา ฟูตะกูล, นภดล วิชญานันต์, ณัฐสม สงวนวงค์, และกีรติ ขยันการนาวี (2548) การวิจัยเพื่อประเมินการรับน้ำหนักประลัยเสาเข็มชนิดตอกในสนามจาก hiley formular รายงานการวิจัยฉบับ วพ. 218 สำนักวิจัยและพัฒนาทาง, กรมทางหลวง

Bowles , Joseph E. Bowles (1997) p975 Foundation Analysis and Design 5 th Edition , New York : McGraw-Hill