การพัฒนาโลชั่นจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน
ปิยะพัฒน์ สุนทรศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบชะเอมไทย โดยนำผลชะเอมไทยมาสกัดด้วยเอทานอล และนำสารสกัดหยาบผลชะเอมไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โลชั่น ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดหยาบจากผลชะเอมไทย        มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 55.20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ปริมาณแทนนินทั้งหมด เท่ากับ  35.20  ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 12.02 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร  ในขณะที่ BHT และ BHA มีค่า IC50 เท่ากับ 12.86 และ 12.54 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดหยาบชะเอมไทยพบสารกลุ่มหลัก สเตอรอยด์-เทอร์ปีน ฟลาโวนอยด์ และอัคคาลอยด์ เมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โลชั่นที่ได้มีสีขาว ไม่มีกลิ่น ลักษณะทางกายภาพคงตัวที่ดีไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวและได้รับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี และมีความเป็นกรด–ด่าง เท่ากับ 7.6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันญารัตน์ ภิรมย์มั่น. (2550). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดจาก ต้นกระทือป่า และว่านริดสีดวง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขวัญเรือน สินสายออ. (2555). การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากผลหมาก ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จันทิมา นามโชติ. (2556). ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบกิ่งมะขวิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ.

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล และคณะ. (2549). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยและการสกัดของพืช

วงศ์ Zingiberaceae ในประเทศไทย. CD รวบรวมผลงานวิชาการหลังการประชุม (Proceeding) ของการการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 32: กรุงเทพฯ

ผลชะเอมไทย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:

http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=81

(2557, 30 มกราคม)

รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2550). การตรวจสอบและการสกัดสารแยกสารสำคัญจากสมุนไพร (พิมพ์ครั้งที่ 2)

ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

Chan, E.W.C., Lim, Y.Y. (2006). Antioxidant activity of Thunbergia laurifolia tea. Journal of Tropical Forest Science, 18(2): 130–136.

Dasgupta, N. and De, B.,(2004), Antioxidant Activity of Piper betle L. Leaf Extract in vitro. Food chemistry, 88(2): 219-224.

Kim Y.C, and Chung S.K. (2002). Reactive oxygen radical species scavenging effects of Korean Medicinal plant leves. Food Sci. Biotech, 11: 407-411.

Schonenberger, J. (1999). Floral structure, development and diversity in Thunbergia (Acanthaceae). Botanical Journal of the Linnean Society 130: 1–36.

Singh N. and Rajini P.S. (2004). Free radical scavenging activity of an aqueous extract of potato peel. Food Chemistry, 85: 611-616

Wautier, J.L. and Guillausseau, P.J. (2001). Advanced glycation end products, their receptors and diabetic angiopathy. Diabetes Metab (Paris) 27(1): 535-542.

Yokota, T., Nishio, H., Kubota, Y. & Mizoguchi, M. (1998). The inhibitory effect of glabrid in from licorice extracts on melanogenesis and inflammation. Pigment Cell Res, 11; 355-361.