การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ แบบเฟรมต่อเฟรม

Main Article Content

ชุมพล จันทร์ฉลอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม 2. เพื่อหาคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม                    3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 25 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย  1. สื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. แบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม  3. แบบประเมินความความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม

            ผลการวิจัย พบว่าผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรม ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.52 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติแบบเฟรมต่อเฟรมที่ประเมินโดยนักศึกษา รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.10 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร

กังสดาล ดีพัฒน์ (2553). การสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก (http://www.bmamedia.in.th/index.php?option=com_content&task=view&id=916&Itemid=79) (2558, 8 สิงหาคม)

กิดานันท์ มะลิทอง (2548). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จรัญ ขันศิริ (2553). การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษารอบด้าน สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา,มหาวิทยาลัยนเรศวร [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.bmamedia.in.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1021&Itemid=79 (2558,8 สิงหาคม)

ชูศรี วงศ์รัตนะ (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพ : เทพเนรมิตรการพิมพ์

นัฎยา บันดาลสิน(2553). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรมมัลติพอยท์เมาส์ เรื่องการสร้างสรรค์งานจากอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.bmamedia.in.th/index.php?option=com_content&task=view&id=914&Itemid=79 (2558,8 สิงหาคม)

นพรัตน์ กันทะวัง (2552). การออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการดุนลายอลูมิเนียมเบื้องต้น. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [ออนไลน์], เข้าถึงได้จากhttp://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=20930&word=2552&check_field=YEAR&select_study=EDTEC&condition=2&search=9&philosophy=&master= (2558, 8 สิงหาคม)

ผจญ รุ่งอรุณเลิศ (2551). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคงทองวิทยา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา,มหาวิทยาลัยศิลปากร [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.bmamedia.in.th/index.php?option=com_content&task=view&id=614&Itemid=79 (2558,8 สิงหาคม)

สมหมาย ตามประวัติ(2555). ภาพเคลื่อนไหว (Animation). ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28/2608.html (2558,8 สิงหาคม)