สารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล

Main Article Content

เพ็ญธิดา หงษ์ยนต์
วีระชัย คอนจอหอ
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

             การศึกษาความต้องการสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล  2.  ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาลระหว่างเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลของผู้บริหารแต่ละระดับ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถามความต้องการสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด  270  คน  เป็นผู้บริหารระดับสูง  15  คน  ผู้บริหารระดับกลาง  90  คน  และผู้บริหารระดับล่าง  165  คน  จากเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบุรีรวม  15  แห่ง  โดยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล  สถิติที่ใช้เคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ และค่าความเชื่อมั่น

               ผลการศึกษาพบว่า  1. ความต้องการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาล  สารสนเทศที่ผู้บริหารทั้ง 3 ระดับต้องการ  ได้แก่  1.1 ระดับพัฒนาการภาษาอังกฤษ  1.2 งบประมาณสนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษ  1.3 ระดับความพึงพอใจของชาวต่างชาติที่มีต่อการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงาน  1.4 โครงการหรือหลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษ  1.5 ประวัติการจัดส่งพนักงานไปอบรมภาษาอังกฤษ  1.6 รายงานการเบิกวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนด้านภาษาอังกฤษของพนักงาน  1.7 ประวัติวิทยากรหรือผู้สอนภาษาอังกฤษ  1.8 ข่าวกิจกรรมด้านภาษาอังกฤษของเทศบาล  1.9 ข้อความคิดเห็นด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ  และ 1.10 ประวัติพนักงาน  2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการบริการของพนักงานเทศบาลระหว่างเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

              Studying the requirement of Information to Support Decision of English for Service in Municipal Officers aimed to 1. study the information requirement in Information to Support Decision of English for Service in Municipal Officers  2. compare the requirement levels in Information to Support Decision of English for Service in Municipal Officers between each level of management  in city municipalities and sub-district municipalities. Research data was collected as a questionnaire of Information to Support Decision of English for Service in Municipal Officers, from 270 populations who were 15 people in high level of management, 90 people in middle level of management and 165 people in low level of management. The sample groups were from 15 municipalities in Phetchaburi province, Thailand. They all were involved making a decision about English for service in municipal officers. Statistics used for data analysis were Means, S.D. (standard deviation), Chi-square and reliability technique.

                   The results of the research found that 1. each level of management required the information of  1.1 English development levels  1.2 budget to support English learning of officers  1.3 satisfaction of foreigners in English communication of officers  1.4 English projects/courses  1.5 records of providing officers to join English projects/course  1.6 records of using government equipment to support English learning  1.7 profile of English teachers  1.8 English activity news municipalities  1.9 opinion to develop English  and  1.10 officer profiles  2. the comparison of requirement levels in Information to Support Decision of English for Service in Municipal Officers between city municipalities and sub-district municipalities were not different with the statistical significance at .05 level.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เพ็ญธิดา หงษ์ยนต์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสนเทศคุณภาพ  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

วีระชัย คอนจอหอ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มกราคม - ธันวาคม 2556. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). รายงานการสำรวจสัดส่วนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศปี พ.ศ. 2555 (มกราคมถึงธันวาคม) บทที่ 3. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยวกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา.

จารึก ชูกิตติกุล . (2553). วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ฉบับที่ 11. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

จารึก ชูกิตติกุล . (2555). วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ฉบับที่ 13. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชัยวุฒิ จุฑาพันธ์สวัสดิ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบสารสนเทศคุณภาพเดมมิ่งสนับสนุนการ บริหารการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชำนาญ สุขแสงอร่าม. (2555). ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมยายยนต์. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราภัฎเพชรบุรี.

ฑกลชัย อุตตรนที. (2556) ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสนับสนุนการจัดจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐที่ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดจ้าง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พนิดา อนันต์รัตนสุข. (2555). เรียนรู้เรื่องอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

เทศบาลเมืองชะอำ. (2556). รายงานสรุปผู้ใช้บริการงาน ทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน ประจำปี 2556. เพชรบุรี: เทศบาลเมืองชะอำ.

เทศบาลเมืองชะอำ. (2556). โครงการอบรมภาษาอังกฤษ สำหรับพนักงานเทศบาลเพื่อต้อนรับเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน เลขที่หนังสือ 509/142. เพชรบุรี: เทศบาลเมืองชะอำ.

สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2546). การพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยวิธี Six Sigma. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Baged, V. S. (2009). Management Information Systems. Pune: Technical Publications Pune.

Bidgoil, Hossein. (1989). Decision Support System: Principles and Practice. New Jersey: West Publishing.

Brussee, Warren. (2006). Statistics for Six Sigma Mad Easy. Academic Internet Publisher (30 October 2006).

Cavanagh, R. R., Neuman, R. P. & Pande, P. S. (2005). What is Design For Six Sigma?. New York: McGraw-Hill.

Evan, J.R. & Lindsay, W.M. (2005). Introduction to Six Sigma & Process Improvement. US: Thomson Southwestern.

Gitlow, H. S. & Levine. D. M., & Popovice, Edward A. (2006). Design for Six Sigma for Green Belts and Champions: Applications for Service Operations Foundations, Tools, DMADV, Cases, and Certification. Upper Saddle River: Pearson Education.

Gupta, Hitesh. (2001). Management Information System. New Delhi: International Book House.

Laudon, Kenneth C.and Laudon, Jane P. (2006). Management Information Systems : Managing the Digital Firm. Second Edition. New Jersey: Pearson Education.

Little, J. D. C.(1970). Models and Managers: The Concept of a Decision Calculus. Management Science. New York: Springer.

Pande, Pete and Holpp, Larry. (2002). What is Six Sigma?. New York: McGraw-Hill.

Pyzdek, T., & Keller, P. (2009) The Sigma Handbook: A Complete Guide for Green Belts, Black Belts, and Managers at all levels 3rd Edition. New York: McGraw-Hill.