การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Main Article Content

แสนศักดิ์ หัสคำ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี และ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ได้ประเมินโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  และประเมินคุณภาพของโปรแกรม ในด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ  ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม ด้านความสะดวกและความง่ายในการใช้งานโปรแกรมและด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรม และผู้วิจัยได้ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกจากอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. โปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  2. แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบในระดับ  ดีมาก ( = 4.25 ,S.D. = 0.68) ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.08 ,S.D. = 0.97) ด้านความสะดวกและความง่ายในการใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.75 ,S.D. = 0.83)     และด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.25 ,S.D. = 0.83)  2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรม( =4.04 ,S.D. =0.63) อยู่ในระดับดีมาก

             The objectives of this research are two proposes. 1. to develop program for measurement and evaluation of learning. This for teachers, Valaya Alongkorn Rajabhat University and 2. to study satisfaction in this program. Computer experts had evaluate The Development Program for Support Learning's measurement and evaluation, analysis and design system, accuracy, user friendly and security of Program. The Researcher used the satisfaction’s Paper for evaluation satisfaction’s users. The sample of this research was sampling by purposive sampling, teacher from Faculty of Science and Technology and Faculty of Humanities and Social Sciences. There were 60 teachers. Tools used in this research, which consist of 1. Program for Measurement and Evaluation of Learning, 2. the Quality Assessment’s Program for Measurement and Evaluation of Learning for specialists and 3. the satisfaction’s Program for Measurement and Evaluation of Learning for teachers. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation.

            From the study reveal that 1. The program that was developed has an outstanding efficiency to analyze the data and design the system. It is equal to 4.25 and S.D. rate is equal to 0.68 Moreover, the accuracy about the processing of the program is excellent. It is equal to 4.08 and S.D. rate is equal to 0.97. Furthermore, this program is very good because it easy to use and convenient for the users. It is equal to 3.75 and S.D. rate is equal to 0.83 In addition, this program has a very well security system. It is equal to 4.25 and S.D. rate is equal to 0.83                 2. In conclusion, the overall answer above indicate that this program was received the high level of satisfaction from the users. It is equal to 4.04 and S.D. rate is equal to 0.63

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

แสนศักดิ์ หัสคำ

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์   จังหวัดปทุมธานี    

 

การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

References

เกล็ดนที ไชยชนะ. 2549. การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพศรีขรภูมิ. สารนิพนธ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Klednatee_Chaichana

/Fulltext.pdf วันที่ 10 กันยายน 2558.

ปุรัณ อนันตเศรษฐ . 2551. การพัฒนาระบบการตัดเกรดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. การค้นคว้าแบบอิสระ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก http://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1466368. วันที่ 15 กรกฎาคม 2558.

ชูศรี วงศรัตนะ. 2544. เทคนิคการใชสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพเจริญผล.

ธานินทร์ ศิลป์จาร. 2549. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร :พิมพ์ครั้งที่ 11: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มานพ มีใย 2540. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์. คุรุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/VRU-comsci/Downloads/B10496403.pdf. วันที่ 10 มิถุนายน 2558.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.