การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว

Main Article Content

พนุชศดี เย็นใจ
ทรงกลด จารุสมบัติ
ธีระ วีณิน

บทคัดย่อ

            การศึกษาการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของกาวที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ตลอดจนทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลตาม มอก. 876-2547 (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม[สมอ], 2547) มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ เปรียบเทียบกาว 2 ชนิด คือ กาวไอโซไซยาเนต ชนิด polymeric diphenylmethane diisocyanate (pMDI) ปริมาณร้อยละ 3, 5 และ 7 และกาวยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ปริมาณร้อยละ 8, 10 และ 12 ของน้ำหนักชิ้นไม้อบแห้ง ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ชนิดและปริมาณของกาวที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด คือ การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดที่อัดด้วยกาวไอโซไซยาเนต ชนิด pMDI ในปริมาณร้อยละ 7 ของน้ำหนักชิ้นไม้อบแห้ง โดยให้ค่าคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ค่ามอดุลัสแตกหัก ค่ามอดุลัสยืดหยุ่น และค่าความต้านแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า ซึ่งมีค่าสูงสุดเท่ากับ 17.14, 1880.89 และ 0.86 MPa ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นค่าที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 876-2547 (สมอ, 2547)

 

Particleboard Manufacturing from Waste of Cajuput (Melaleuca cajuputi Powell) was studied. The objectives were to study types and amount of a suitable adhesive for particleboard manufacturing, and to test physical and mechanical properties according to Thai Industrial Standard (TIS, 2004). Completely randomized design (CRD) was used in the experiment.
The process was comparing two types of adhesive, which were Isocyanate adhesive type polymeric diphenylmethane diisocyanate (pMDI) content 3, 5 and 7% and Urea Formaldehyde adhesive content 8, 10 and 12 by oven dry weight, respectively. The result showed that, the types and amount of a suitable adhesive for particleboard manufacturing was Isocyanate adhesive type pMDI content 7 by oven dry weight, which provided the highest value of mechanical properties including, value of modulus of rupture, modulus of elasticity and internal bonding as 17.14, 1880.89 and 0.86 MPa, respectively. The value also passed standard TIS 876-2004.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พนุชศดี เย็นใจ

นิสิตปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณทิต สาขาการบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 

 

ทรงกลด จารุสมบัติ

อาจารย์ประจำภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

ธีระ วีณิน

อาจารย์ประจำภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

References

ทัศนีย์ ทองก้านเหลือง. (2548). การศึกษาสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงความร้อนของแผ่นปาร์ติเกิลจากทะลายปาล์มน้ำมัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ธนิตย์ หนูยิ้ม และสมชัย เบญจชย. (2550). คู่มือการแปรรูปไม้เสม็ดขาว. นราธิวาส: โรงพิมพ์สุไหงโก-ลก.

มูลนิธิสวนหลวง ร.9. (2547). ไม้นามตามถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ มอก.876-2547. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

อิสรีย์ ฮาวปินใจ. (2552). แผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือไม้กฤษณา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lin, C.J., S. Hiziroglu, S.M. Kan and H.W. Lai. (2008). Manufacturing particleboard panels from betel palm (Areca catechu Linn.). Journal of materials processing technology, 197 (1), 445-448.