การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ทัศนีย์ วงค์นรา
กนก สมะวรรธนะ
ทรงศักดิ์ สองสนิท

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. พัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2. เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นักเรียนสองกลุ่มการเรียน 3. เปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังเรียนของนักเรียนสองกลุ่มการเรียน 4. เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อน-หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ 5. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองสองห้องวิทยา จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเว็บ แผนการสอน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ และแบบทดสอบความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานด้วย t-test dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1.บทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ เท่ากับ 1.19 2. ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนสองกลุ่มการเรียน ได้ค่า t เท่ากับ 8.23 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้บนเว็บโดยใช้เทคนิคส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนก่อนเรียนของนักเรียนสองกลุ่มการเรียน มีค่า t เท่ากับ 0.59 แสดงว่านักเรียนมีพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน และคะแนนหลังเรียนของนักเรียนสองกลุ่มการเรียน มีค่า t เท่ากับ 6.43 แสดงว่ามีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนก่อนเรียน - หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง ได้ค่า t เท่ากับ 22.16 แสดงว่านักเรียนที่เรียนบนเว็บมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่  3.95 นักเรียนพึงพอใจในเนื้อหามีความถูกต้องความทันสมัย

 

               The research objectives were to 1. develop Web-based Instruction to promote Creativity with Synectics Instructional included with Lateral Thinking technique for Matthayomsueksa 4 students accordingly to criterion of Megulgans. 2. Compare creative capability of experimental group studying Web-Based instruction and the control group learned through convention approach. 3. Compare scores of pre and post - test between the experimental and control group. 4. Compare scores of pre and post - test of experimental. 5. Study satisfaction of experimental group. The populations were Matthayomsueksa 4 students and all of them were tested using Torrance test of Creative, the first group was chosen as experimental group and the other was control group.The instruments were Web-Based Instruction, lesson plan, Torrance Test of Creative Thinking, and satisfaction questionnaire. The statistics consisted of mean, S.D. and assumption test with t-test both independent and dependent. The result of study found that 1. Effectiveness to promote creativity of Web-Based instruction had efficiency corresponded with criteria of Merguigans was 1.19. 2. The capacity of Creative Thinking scores of an experimental group was higher than control group at .05 level significantly. 3. The result of comparing pretest score of experimental group and control group were not significantly different but it was the highest post-test scores of experimental group at .05 level significantly. 4. The post-test scores of experimental group was higher than the pre-test at .05 level significantly. 5. The result of analyzing satisfaction of experimental group was in high level with mean of 3.95 and S.D. of 0.11 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ทัศนีย์ วงค์นรา

นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

กนก สมะวรรธนะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาจารย์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ทรงศักดิ์ สองสนิท

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

คณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. สำนักงาน. 2543. การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 5.

กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าวการพิมพ์.

คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). การสอนตามรูปแบบการสอนเน้นการคิดนอกกรอบ

ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น.

ทศพล ศิลลา. (2554). ผลของการสอนแบบคิดนอกกรอบบนเว็บที่มีต่อการสร้างสรรค์งานกราฟิกสาม

มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแบบการเรียนต่างกัน.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. หลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชา โสตทัศนศึกษา,

กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ถ่ายเอกสาร.

สนิท ตีเมืองซ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วย

เสริมศักยภาพ ทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ คอ.ม. เทคโนโลยี

คอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,ถ่ายเอกสาร.

สรัญญา เชื้อทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียน

การสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม.

หลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชา โสตทัศนศึกษา, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, ถ่ายเอกสาร.

สุภาวดี สอนชา. (2555). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้กระบวนการเรียน

การสอนแบบซินเนคติกส์ เรื่อง การเขียนโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ในงานอาชีพเพื่อ

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.).

วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. สาขาวิชา ครุศาสตร์เทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี, ถ่ายเอกสาร.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2556). โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล ภายใต้

โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพทั้งองค์กร.

เอกสารประกอบการบรรยาย. สืบค้นวันที่ 11 มกราคม 2556 จาก http://www.labschools.net/

docdown/wcl/wcl_labschools.htm

อนงค์ สินธุศิริ. การเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21 [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2557 เข้าถึงได้จาก

http://www// anongswu502.blogspot.com

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎนครปฐม.

อุดม หอมคำ. (2546). ผลของระดับความคิดสร้างสรรค์และรูปแบบการฝึกฝนการคิดนอกกรอบด้วย

โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบเลี่ยงแนวคิดครอบงำ และแบบสร้างแนวคิดที่มีต่อความคิด

สร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษา, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ถ่ายเอกสาร.

อุทุมพร แก่นทอง. (2553). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชนประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วย

การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ถ่ายเอกสาร.

Clover. 1980. Becoming a More Creative Person. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-

Hall.

De Bono, Edward. (1990). Originator of Lateral Thinking Positioning Magazine.

http://www.positioningmag.com/magazine/printnews.aspx?id=25816

_______ . (1982). Lateral thinking : A Textbook of Creativity. Penguin Books.

Heavilin, B.A. (1982). The use of synectics and an aid to invention in collage composition.

New York : Ally and Bacon.

Joyce and Weil. (1996). Models of teaching. London: Prentice Hall.

Torrance, E.P. and R.E. Myers. (1972). Creative Learningand Teaching. New York : Dood,

Mead.