การประเมินคุณค่าทางทางโภชนะในอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบโปรตีนทดแทน จากแปลงปลูกเกษตรปลอดสารพิษต่อการเจริญเติบโตของปลานิล

Main Article Content

บุณฑริกา ทองดอนพุ่ม
กิตติมา วานิชกูล
ลลิตา ศิริวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

               ปลานิล (Oreochromis niloticus) จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบโปรตีนทดแทนจากแปลงเกษตรปลอดสารพิษต่อการเจริญเติบโตของปลานิล โดยได้ดำเนินการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง ในแต่ละชุดการทดลองมี 3 ซ้ำ การศึกษาครั้งนี้กำหนดให้ชุดการทดลองที่ 1 2 และ 3 ใช้รำละเอียดจากแปลงเกษตรปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์ อาหารผสม (ปลาป่น ผสมกับรำละเอียดและเมล็ดข้าวโพดอบแห้งจากแปลงเกษตรปลอดสารพิษ) และอาหารที่นิยมใช้เลี้ยงปลาทั่วไป ตามลำดับ ภายในระยะเวลา 120 วัน พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม มีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก (75.36±25.99 กรัม) ดีที่สุด ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) กับชุดการทดลองที่ 1 (47.28±17.10 กรัม) และชุดการทดลองที่ 3 (41.08±12.04 กรัม) ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) มีค่าดีที่สุดในชุดการทดลองที่ 2 โดยมีค่าเท่ากับ 1.27±0.12 กรัมต่อวัน (p£0.05) และ 1.74±0.42 (p>0.05) ตามลำดับ  ในขณะที่อัตราการรอดของปลานิล (SR) มีค่าสูงสุดในชุดอาหารที่นิยมใช้เลี้ยงปลาทั่วไป มีค่าร้อยละ 78.33±16.07 (p£0.05) องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อสัตว์น้ำ พบว่า ปริมาณโปรตีน ไขมัน เถ้า ความชื้น และวัตถุแห้ง ในเนื้อสัตว์น้ำก่อนทำการเลี้ยง ร้อยละ 58.86  6.29 26.04 2.95 และ 97.05 ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเลี้ยง 120 วัน องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อสัตว์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p£0.05) โดยภาพรวม สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบโปรตีนทดแทนจากแปลงเกษตรปลอดสารพิษสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำได้ โดยวัตถุดิบโปรตีนทดแทนดังกล่าวมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลานิล ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการผลิตอาหารสัตว์น้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงแบบปลอดสารพิษต่อไป

 

                Nile Tilapia (Oreochromis niloticus) is one of economic important freshwater fish in Thailand. This study aimed to assess the effect of suitable dietary protein ingredients from non-toxic agricultural field on tilapia growth. The experiments were set by completely randomized design (CRD) in three treatment groups of three replications. The treatment groups were fed with 100 percentage of rice bran from non-toxic agricultural field, mixing feed (fish meal, rice bean and dried corn grains from non-toxic agricultural field), and commercial feed for treatment 1, 2, and 3, respectively. Growth rate, survival rate, and other growth parameters were studied within 120 days. Results indicated that weight growth rate were significantly different (p£0.05) and showed the best in mixing feed treatment group (75.36±25.99 g), followed by treatment 1 and 3 (47.28±17.10 g and 41.08±12.04, respectively). Average daily growth rate (ADG) and Feed conversion ratio of tilapia showed the best in treatment 2 with average 1.27±0.12 g/day (p£0.05) and 1.74±0.42 (p>0.05),  respectively. Survival rate showed highest in treatment 3 (78.33±16.07%). The initial value of chemical nutritional compositions in fish showed protein, lipid, ash, moisture, and dry matter were 58.86%,  6.29%,  26.04%,  2.95%, and 97.05% respectively. The results of chemical nutritional compositions in fish in 120 days culture showed tendency high value content (p£0.05). The overall results suggested that dietary protein ingredients from non-toxic agricultural field had effects on tilapia growth and could be used for development of non-toxic aquaculture feed production in the future.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

บุณฑริกา ทองดอนพุ่ม

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กิตติมา วานิชกูล

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

กรมประมง. (2557). การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา, กรมประมง.

กรมประมง. (2559). แนวทางการลดต้นทุนอาหารสัตว์น้ำ. สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง. แหล่งข้อมูล : http://www.fisheries.go.th/if-inland_feed/web2/images/download/lowcostfeed.pdf (15 พฤศจิกายน 2559)

เจษฎา อิสเหาะ. (2540). เอกสารประกอบการสอน วิชาอาหารปลา. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา.

วรรณชัย พรหมเกิด. (2553). การใช้สาคูสดร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงปลานิลแดงแปลงเพศ (Oreochromis niloticus Linn.) ขนาดกลาง. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 4(2),

-25.

รัตนสุดา ไชยเชษฐ์. (2552). ผลของการใช้วัตถุดิบโปรตีนบางชนิดทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารที่มีต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง (Pangasius bocourti). วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 3(2),

-23.

ยุพินธ์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์, และพันธ์ศักดิ์ ใครบุตร. (ม.ป.ป.). เอกสารคำแนะนำ การเพาะเลี้ยงปลานิล. ฝ่ายเผยแพร่ส่วนเผยแพร่การประมง, สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ. (2553). เอกสารคำแนะนำ การเพาะเลี้ยงปลานิล. ฝ่ายเผยแพร่ ส่วนเผยแพร่การประมง, สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สังคม เยาวชัย. (ม.ป.ป.). ผลการทดแทนปลาป่นด้วยโปรตีนจากพืชในอาหารสัตว์น้ำ. ภาควิชาสัตวศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. แหล่งข้อมูล : http://www.agri.ubu.ac.th/~suralee/seminar-home/sangkom.pdf (3 มกราคม 2558)

สุรีรัตน์ เรืองสมบูรณ์, ศักดิ์ชัย ชูโชติ, และปวีณา ทวีกิจการ. (2553). การเจริญเติบโตของปลานิลแดง (Orechromis niloticus x O. mossambicus) ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Spirulina platensis แห้ง. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 4(1), 51-60.

เสถียรพงษ์ ขาวหิต. (2551). การใช้อาหารต่างชนิดกันต่อประสิทธิภาพของการแปลงเพศ การเจริญเติบโต และการใช้ประโยชน์ของโปรตีนในลูกปลานิล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abdel-Tawwab, M., Ahmad, M.H., Khattab, Y.A.E., & Shalaby, A.M.E. (2010). Effect of dietary protein level, initial body weight, and their interaction on the growth, feed utilization, and physiological alterations of Nile tilapia, Oreochromis niloticus (L.). Aquaculture, 298, 267-274.

AOAC. (2000). Official methods of analysis. (15th ed.). Wilson Boulevard Arlington, Virginia, USA. 1298 p.

ICROFS. (2013). Organic Aquaculture. International Centre for Research in Organic Food Systems. Available from : www.icrofs.org (2013, February 28)

Khattab, Y.A.E., Ahmad, M.H., Shalaby, A.M.E., & Abdel-Tawwab, M. (2000). Response of Nile tilapia (Oreochromis niloticus L.) from different locations to different dietary protein levels. Egypt. J. Aquat. Biol. & Fish., 4, 295-311.

Bahnasawy, M.H., El-Ghobashy, A.E., & Abdel-Hakim, N.F. (2009). Culture of Nile tilapia (Oreochromis niloticus) in a recirculating water system using different protein levels. Egypt. J. Aquat. Biol. & Fish., 13(2), 1-15.