ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อารีย์ สงวนชื่อ
ปณิธาน กระสังข์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 68 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องมือเจาะนำตาลปลายนิ้ว และแบบสอบถาม (Questionnaires) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางชีวสังคม ส่วนที่ 2 แบบวัดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 แบบวัดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณ ใช้สถิติ Paired Samples t – test และสถิติ Independent Samples t – test ผลการศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ หลังเข้าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ระดับค่าน้ำตาลในเลือดหลังเข้าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หลังเข้าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

             ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรกระตุ้นให้ผู้ที่บทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง

             

              This quasi experimental research aimed to compare the effectiveness of holistic health promotion program of diabetic patients in Suan Prick Thai community, Maung district, Patum Thani. The samples consisted of 60 controlled groups of diabetic patients and 68 experimental groups which were selected by purposive sampling. The instruments used in this research were Health Promotion Program questionnaires; the collective data consisted of 3 parts, 1) a biosocial data 2) the belief in health evaluation form 3) self- health promotion behavior evaluation form. The statistics used in analyzing data were descriptive statistics, percentage, mean, and standard deviation. Inferential statistics including Paired Samples t-test and Independent Samples t – test. The results of the belief in health promotion program group had higher mean score than before testing a program at the 0.01 level of significance. The patients in sample group had If the author monitored the FBS level, the instrument need to be identify in the methods lower than before testing the program at the 0.01 level of significance and the health promotion of diabetic patients’ behavior after testing had higher mean score than before testing a program at the 0.01 level of significance. 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อารีย์ สงวนชื่อ

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี 

ปณิธาน กระสังข์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์  วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2553). รายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. (2550). เกณฑ์ หลักการ และรูปแบบของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ.ในสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย(บรรณาธิการ),คู่มือการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (หน้า3-4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ขนิษฐา โกเมนทร์. (2547).ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรงพยาบาลค่ายสุรนารีจังหวัดนครราชศรีมา.วิทยานิพนธ์วทม.,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล. (2549). สุขภาพแบบองค์รวม .www.oknation.net/blog/print.php

เพชร รอดอารีย์ และ คณะฯ. (2547). โครงการลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย

เพ็ญศรี พงษ์ประพันธ์.และคณะ. (2553). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนปุรณาวาส. สาขาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. กรุงเทพฯ

ทรงเดช ยศจำรัส, ปาริชา นิพพานนท์. (2556). ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาวนา กีรติยุติวงศ์. (2544). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน : มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี

Perder,N.J. (2006). Health Promotion in Nursing Pratice (3rded). New York: Appletan Lange