อิทธิพลของการใส่ปุ๋ยต่อองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม พันธุ์เชียงใหม่ 84-2

Main Article Content

รัชตา ทนวิทูวัตร

บทคัดย่อ

                ศึกษาอิทธิพลของการใส่ปุ๋ยต่อองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 นำมาปลูกทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย.56-ก.พ.57) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ 4 สิ่งทดลองคือ ปุ๋ยคอก 2 ตัน/ไร่  ชุดปุ๋ยสูตรแนะนำในข้าวโพดฝักสด (1.ปุ๋ย 16-16-16 อัตรา 50 กก./ไร่ พร้อมปลูก 2.และ3. 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ ที่ 25 และ 45 วันหลังปลูก) ชุดปุ๋ยดัดแปลงจากสูตรของกรมวิชาการเกษตร (1.ปุ๋ย 18-46-0 อัตรา 20 กก./ไร่+ 0-0-60 อัตรา 10 กก./ไร่ พร้อมปลูก 2. 13-13-21 อัตรา 25 กก./ไร่ ที่ 25 วันหลังปลูก และ 3. 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ ที่ 45 วันหลังปลูก) และชุดปุ๋ยสูตรของบริษัทเอกชน (1.ปุ๋ย 16-16-16 อัตรา 50 กก./ไร่ ที่ 15 วันหลังปลูก 2. 13-13-21 อัตรา 50 กก./ไร่ ที่ 30 วันหลังปลูก และ 3.46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ที่ 50 วันหลังปลูก) ผลการทดลองพบว่า ชุดปุ๋ยสูตรแนะนำในข้าวโพดฝักสดให้ลักษณะองค์ประกอบผลผลิตโดยรวมสูง ได้แก่ จำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 30.5 ฝัก น้ำหนักเมล็ดต่อต้นเฉลี่ย 19.9 กรัม และดัชนีเก็บเกี่ยว 0.55  รวมทั้งให้ผลผลิตเมล็ดดีสูงใกล้เคียงกับชุดปุ๋ยสูตรของบริษัทเอกชน เฉลี่ย 411.1 และ 431.1 กก./ไร่ ตามลำดับ  และจากผลการคำนวณต้นทุนปุ๋ย การใส่ปุ๋ยชุดสูตรแนะนำในข้าวโพดฝักสดมีต้นทุนต่ำกว่าปุ๋ยอินทรีย์และชุดปุ๋ยสูตรอื่นๆ โดยต่ำกว่าชุดสูตรปุ๋ยของบริษัทเอกชน(ต้นทุนปุ๋ยสูงสุด) เฉลี่ย 1.5 บาท/เมล็ดพันธุ์ 1 กก. 

 

         

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รัชตา ทนวิทูวัตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

References

พิมพ์นภา ขุนพิลึก เอนก โชติญาณวงษ์ พิมพร โชติญาณวงษ์ จิราลักษณ์ ภูมิไธยสง นรีลักษณ์ วรรณสาย

อรรณพ กสิวิวัฒน์ และอานนท์ มลิพันธ์. (2554). ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมสายพันธุ์ดีเด่น

MJ0108-11-5. แก่นเกษตร, 39 (ฉบับพิเศษ 3), 181-186.

ละอองดาว แสงหล้า พิมพ์นภา ขุนพิลึก กัลยา วิธี และนพพร ทองเปลง. (2554). การเปรียบเทียบศักยภาพของ

ผลผลิตเมล็ดพันธุ์และคุณภาพในการเก็บรักษาของถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม. แก่นเกษตร, 39

(ฉบับพิเศษ 3), 91-96.

ศรัณยู ถาวร เรืองชัย จูวัฒนสำราญ สุมิตรา คงชื่นสิน และวราลักษณ์ เกษตรานันท์. (2554). การวิเคราะห์ทาง

พันธุกรรมของลักษณะบางประการที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตในถั่วเหลืองฝักสด (Glycine max (L.)

Merrill). Thai Genetic Journal, 4 (2), 106-114.

สมศักดิ์ ศรีสมบุญ. (2547). การพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองฝักสด. เอกสารประกอบคำบรรยายในการประชุม

วิชาการเรื่อง การวิจัยและพัฒนาถั่วเหลืองฝักสดซบทบาทของรัฐและเอกชน. วันที่ 14-16

ตุลาคม 2547. ณ.โรงแรมริมกกรีสอร์ท จังหวัดเชียงราย.

สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. (2554). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร 2553. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Chuansong, L. (1990). Nitrogen fertilizer effect on marketable yield of vegetable soybean,

AVRDC-TOP 9th Training Report, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

Custom of Japan. (2012). Trade Statistic of Japan. Ministry of Finance, Japan.

Fehr,W.R. and Cariness C.E. (1977). Stages of soybean development. Iowa State University.

Shanmugasundaram S. and Yan, M.R. (2004). Global expansion of high value vegetable

soybean. In VII World Soybean Research Conference and VI International

Soybean Processing and Utilization Conference (P.915-920). Brazil : Foz do

lguassu Press.

Song J.Y. , An G.H. and Kim C.J. (2003). Color, texture, nutrient content and sensory values of

vegetable soybean (Glycine max L. Merrill) as affected by blanching.

Food Chemistry, 83, 69-74.

Vera M., Mrkovaˇcki N. and Hrusti´c M. (2002). Interrelationship of nitrogen fixation potential

and soybean yield. A Periodical of Scientific Research on Field and Vegetable Crops,

, 133–139.

Xuewen T. (1990). “Effect of nitrogen fertilizer level on soybean yield,” AVRDC-TOP 9th Training

Report, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.