การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของตกแต่งและเครื่องเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วุฒิชัย วิถาทานัง

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภท    ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก  ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและเครื่องเรือน  แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานแบบใหม่ และ ในขั้นตอนสุดท้ายที่ได้หลังจากการพัฒนาและออกแบบคือศึกษาหาความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสาน ที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น  โดยพื้นที่หลักในการวิจัยและเก็บข้อมูลคือกลุ่มสร้างงานเครื่องจักสานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นได้แก่ ผู้จำหน่าย ช่างผู้ผลิต นักท่องเที่ยว ที่อยู่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

                แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์คือ ต้องการประยุกต์รูปแบบเครื่องจักสานที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาประยุกต์เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่มีการใช้งานในแบบใหม่ โดยผู้วิจัยได้มองเห็นข้อจำกัดในการสร้างงานของช่างผู้ผลิต ที่มีความถนัดเฉพาะด้านคือไม่สามารถที่จะสร้างงานในแบบที่ยากและแปลกใหม่ได้  ก็เลยเน้นในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วที่ทำกันเป็นประจำอยู่มาประยุกต์และใช้รูปทรงเลขาคณิตเป็นหลักในการออกแบบ เพื่อให้เกิดการใช้งานแบบใหม่ รูปแบบใหม่ เน้นการผลิตที่ง่ายเพื่อเอื้อต่อเครื่องมือ และความสามารถของช่างผู้ผลิต เพื่อเพิ่มแนวทางในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์

                 ผลที่ได้จาการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสาน นั้นจากการศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์สรุปได้ว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสาน ด้านรูปแบบ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงาม  ด้านความคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ มาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ มากที่สุด รองลงมาคือด้านรูปแบบ ด้านความคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ด้านความสวยงาม เรียงตามลำดับ

 

                   

                  The purpose of this study is to study consumers’ opinions towards hand-made product styles of weaves classified as souvenirs, decorations, and household furnishings. The information studied will be analyzed to find the ways to develop and apply new hand-made product styles. After developing and designing new styles, they will be studied the opinions from samples towards hand-made product styles of weaves designed and developed. The main area to be researched and collected information is the group of making a job of weaves in Phra Nakhon Si Ayutthaya. The primary samples whose information is collected are distributors, specialists, and tourists who are in Phra Nakhon Si Ayutthaya.

                  The idea to design and develop products is desire to apply the existing weave style in the community to produce new product styles with new styles of usage. The author realizes the limitations of specialists who have restrictive skills; that is, they can’t make a job if it is difficult and strange, so the focus is to apply the existing products and use arithmetical shapes to design in order to produce usage and styles emphasizing on easy production supporting to specialists’ instrument and abilities so that the ways to produce and develop products will be increased.

                   The results of designing hand-made product styles are found that after the satisfaction of those interested in the products is studied, it can be summarized that the overall level of those interested in the products towards hand-made product styles of weaves in the part of style, utility, beauty, and cultural preservation is high. When each item is considered, it is found that the highest level is in the part of utility, style, cultural preservation, and beauty, respectively.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วุฒิชัย วิถาทานัง

อาจารย์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2542. หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม

นวลน้อย บุญวงษ์. 2539. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษราคัม เริงโกสุม. 2544. ศิลปะพื้นบ้าน. นครสวรรค์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

มาโนช กงกะนันทน์.(2538).รายงานวิจัย การรวบรวมและศึกษาเครื่องจักสาน จ.ราชบุรี.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์การฟิคอาร์ต.

มูลนิธิช่างหัตถกรรมศิลป์ไทย. 2528. รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ.

รัตนพงศ์ จันทร์มา. 2542. ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองสำหรับการตกแต่งของกลุ่มหมู่บ้านคลองขุดใหม่ กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.2532. ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2538. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พับลิคบิสเนสพริ้นท์.