การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย

Main Article Content

พรชัย ปานทุ่ง

บทคัดย่อ

             การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนารูปผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ รูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ 3 รูปแบบ วอลเปเปอร์ติดผนัง 3 รูปแบบ และของชำรวย 3 รูปแบบ ที่ผลิตจากในยางพารา ผู้บริโภคในเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร คือ  นักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน ผู้ประกอบการขายของที่ระลึก 5 ร้าน และเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจผู้บริโภค แล้วนำข้อมูลมาหาค่าร้อยละ เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่าใบยางพาราที่เหมาะสมที่จะนำมาทำเยื่อใบยางพาราที่ดีต้องมีลักษณะของใบที่สมบูรณ์ ถ้าใบยางพาราแก่จะทำให้การขูดเนื้อใบยาก ใบยางพาราอ่อนเกินไปโครงการของเส้นใย  จะไม่แข็งแรง หลังจากได้เยื่อใบยางพารานำมาดำเนินการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย วอลเปเปอร์และประเมิน

              ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.67 (SD=.46) อยู่ในระดับมากที่สุดด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.32 (SD=.72) อยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.12 (SD=.69) อยู่ในระดับมาก

              ความพึงพอใจของผู้ประกอบการขายของที่ระลึกต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.33 (SD=.86) อยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.24 (SD=.72) อยู่ในระดับมาก ด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.00 (SD=.84) อยู่ในระดับมาก

            ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขตอำเภอนครไทยต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.73 (SD=.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.44 (SD=.65) อยู่ในระดับ มากด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.40 (SD=.91) อยู่ในระดับมาก

 

             The Rubber Leaf Creation for Decoration and Gif Product Production  Purposes : 1) Study Development of the Rubber Leaf Products. 2) Evaluate Consumer Satisfaction with the Product Design form Samples in the Research. The 3 Lighting Product Design, 3 Wallpaper Design, and 3 Souvenir Design that Made form the Rubber Leaf. The Consumers in the WatPhra Si Rattana Mahathat Temple Area are 100 Tourists. 5 Entrepreneurs of Souvenir Shops and 3 Rubber Growers in Nakhon Thai District, Phisanulok Province. The Tool that Used in this Research is Consumer Satisfaction Questionnaire. The Data Were Percentage, Mean and Standard Deviation.   

              The Consumer Satisfaction of Product Design of Lamps, Souvenir, and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.67 (SD= .46) in the Shape with an Average of 4.32 (SD = .72) was High. The Utillization is on Average 4.24 (SD = .72) was High.

              The Entrepreneurs Satisfaction of Souvenir on the Product Design, Lamps, Souvenir, and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.33 (SD= .86) was High. The Utillization is on Average 4.24 (SD = .72) was High. The Shape with an Average 4.00 (SD = .84) was High.

              The Satisfaction of Rubber Growers in Nakhon Thai District on the Product Design, Lamps, Souvenir and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.73 (SD = .46) were at the Highest Level. The Utillization is on Average 4.44 (SD = .65) in the Shape is on an Average 4.40 (SD = .91) was High. 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พรชัย ปานทุ่ง

อาจารย์สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

References

เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ และคณะ. มปป. ผลกระทบจากการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัด

พิษณุโลก. การประชุมสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติครั้งที่ 4 (Online). Available :

http://www.mcc.cmu.ac.th/Seminar/pdf/1522.pdf. [2557, สิงหาคม 24]

นวลน้อย บุญวงศ์. 2542. หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รจนา จันทราสา. 2554. หญ้าแฝก : ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ตาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

กรุงเทพฯ : ดี-วิทย์

สาคร คันธโชติ. 2528. การออกแบบแลพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์