วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal <p>เป็นวารสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบัน ได้แก่ อาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />ISSN: 3027-7353 (Online)</p> th-TH <p><strong>ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์</strong> ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร</p><p><strong>ความรับผิดชอบ</strong> เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p> [email protected] (ผศ.ดร.ปุณยนุช นิลแสง) [email protected] (นางสาวปรียา ยอดจันทร์) Tue, 12 Mar 2024 15:46:10 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปกวารสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272132 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272132 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปกใน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272133 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272133 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272134 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272134 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272135 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/272135 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262663 <p> ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพ การทำงานของระบบใช้แหล่งพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กจ่ายไฟฟ้าไปยังบอร์ด NB-IoT เพื่ออ่านค่าจากเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ จำนวน 6 ค่า ได้แก่ ค่าอุณภูมิน้ำ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความนำไฟฟ้า ค่าความขุ่นใส และระดับน้ำ การจัดเก็บข้อมูลส่งค่าผ่านระบบ AIS Magellan แสดงผลคุณภาพน้ำผ่านทางเว็บแอปพลิเคชันและสามารถเรียกดูผลย้อนหลัง อีกทั้งยังแจ้งผลการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำประจำวันผ่านทาง LINE Notify ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างการตรวจวัดค่าระหว่างระบบที่พัฒนากับผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ</p> <p> ผลจากการวิจัยพบว่า ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพสามารถตรวจวัดและแสดงผลได้ ประเมินประสิทธิภาพของระบบเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่าง พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการทดสอบใช้งานจริงพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางการประเมินเบื้องต้นได้ ซึ่งมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีค่าเท่ากับ 4.46 ซึ่งอยู่ในระดับมาก </p> พิมรินทร์ คีรินทร์, เสกสรรค์ ศิวิลัย, อรอุมา พร้าโมต Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262663 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจำแนกขนาดแก้วมังกรสายพันธุ์ขาวเวียดนามด้วยภาพถ่าย โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพและโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263394 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างโมเดลจำแนกขนาดแก้วมังกรสายพันธุ์ขาวเวียดนามจากภาพถ่ายด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน และ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโมเดลที่พัฒนา วิธีการประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) การได้มาซึ่งภาพ 2) การเตรียมข้อมูลภาพ ซึ่งใช้การประมวลผลภาพ การตัดรูปภาพ การเสริมภาพ 3) การสร้างโมเดลจำแนกขนาดแก้วมังกร และ 4) การวัดประสิทธฺภาพของโมเดล ชุดข้อมูลสำหรับสร้างโมเดลได้จากกล้องดิจิตอลมิลเลอร์เลสโดยใช้แก้วมังกรสายพันธุ์ขาวเวียดนาม แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ขนาด 1 (คลาส 1) ขนาด 2 (คลาส 2) ขนาด 3 (คลาส 3) ขนาด 4 (คลาส 4) และขนาด 5 (คลาส 5) โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวน 400 ภาพ รวมทั้งสิ้น 2000 ภาพ ใช้เป็นข้อมูลสำหรับฝึกสอนโมเดล ร้อยละ 80 ได้ภาพ 1600 ภาพ ใช้เป็นข้อมูลสำหรับทดสอบโมเดล ร้อยละ 20 ได้เป็น 400 ภาพ ภาพที่นำเข้ามีขนาดความกว้างและความสูง 256 พิกเซล ใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเป็นโมเดลจำแนก โดยมีการเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันจำแนกขนาดมะม่วง และโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันจำแนกขนาดแอบเปิ้ล โดยข้อมูลชุดทดสอบให้ค่าความแม่นยำร้อยละ 96 ค่าความระลึกร้อยละ 99 ค่าความถูกต้องร้อยละ 96 และค่าเอฟ-1 สกอร์ร้อยละ 97</p> สันติภาพ สัตย์ธรรมรังษี, อรอุมา พร้าโมต Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263394 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตด้วยเอนไซม์ไคติเนส และเอนไซม์ไคโตซาเนสที่สกัดจากต้นอ่อนกระถินบ้าน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/265021 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตด้วยเอนไซม์ไคติเนสและเอนไซม์ไคโตซาเนสที่สกัดจากต้นอ่อนกระถินบ้านอายุ 2 สัปดาห์ พบว่า ไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยไคตินในรูปคอลลอยด์เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตร ด้วยเอนไซม์ไคติเนสที่ใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง มีค่าร้อยละของโมเลกุลขนาดใหญ่ (GlcNAc)<sub>5</sub>, (GlcNAc)<sub>6</sub>, (GlcNAc)<sub>7</sub> และ (GlcNAc)<sub>8 </sub>รวมเท่ากับ 93.74 ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมบวกประกอบด้วย <em>B. cereus </em>ATCC 11778<em>, L. monocytogenes </em>ATCC 15313<em>, S. aureus </em>ATCC 25923 และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบประกอบด้วย <em>E. col </em>ATCC 25922<em>, P. aeruginosa </em>ATCC 27853<em>, V. parahaemolyticus </em>ATCC 17802 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 0.195/0.195, 0.390/0.390, 0.195/0.195, 0.390/0.390, 0.390/0.390 และ 0.390/0.390 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สำหรับไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยไคโตซานเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตร ที่ใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง มีค่าร้อยละของโมเลกุลขนาดใหญ่ (GlcN)<sub>5</sub>, (GlcN)<sub>6</sub>, (GlcN)<sub>7</sub> และ (GlcN)<sub>8 </sub>เท่ากับ 94.09 ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมบวกประกอบด้วย <em>B. cereus </em>ATCC 11778<em>, L. monocytogenes </em>ATCC 15313<em>, S. aureus </em>ATCC 25923 และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบประกอบด้วย <em>E. col </em>ATCC 25922<em>, P. aeruginosa </em>ATCC 27853<em>, V. parahaemolyticus </em>ATCC 17802 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 0.195/0.195, 0.195/0.195, 0.195/0.195, 0.390/0.390, 0.390/0.390 และ 0.390/0.390 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้นไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยไคโตซานเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตรด้วยเอนไซม์ไคโตซาเนสที่ใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง จะมีความสามารถในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยไคตินในรูปคอลลอยด์เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตรด้วยเอนไซม์ไคติเนสที่ใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง</p> มานะ ขาวเมฆ, ปรานอม ขาวเมฆ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/265021 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับกล้องวงจรปิดด้วยทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรสวนมังคุด จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263457 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการสำหรับการออกแบบระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับกล้องวงจรปิด ด้วยทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 51 คน สำหรับสถิติที่ใช้ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญจำเป็น (PNI <sub>Modified</sub>) ผลการวิจัยพบว่าผลประเมินความต้องการสำหรับพัฒนากล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่เกษตรพบว่ามีความต้องการด้านเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดภายในพื้นที่ สวนมังคุดอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.40, S.D. = .064) ซึ่งกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ต้องบันทึกวีดีโอตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนและพลังงานสำรองภายแบตเตอรี่ในเวลาแสงน้อย<br />หรือเวลากลางคืน ผู้วิจัยได้พัฒนากล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 12 โวลต์ 10 วัตต์ จัดเก็บพลังงานผ่านคอนโทรลชาร์จเจอร์ในแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมขนาด 12 โวลต์ กระแสไม่ต่ำกว่า 20 แอมแปร์-ชั่วโมง เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งสำหรับสังเกตการในพื้นที่ทางการเกษตรที่ห่างไกลระบบส่งจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า</p> อรุณรักษ์ ตันพานิช, คฑาวุธ ชุมขวัญ, ศุภกร แก้วละเอียด, อรสา มั่งสกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263457 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์การเข้าชั้นเรียนโดยใช้การระบุตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/265275 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์การเข้าชั้นเรียนโดยใช้การระบุตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย <br />2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ PHP JavaScript และสร้างฐานข้อมูลด้วย MySQL รวมถึง<br />แสดงสารสนเทศผ่านทาง Google Map API จากนั้นทำการพัฒนาระบบเป็นเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ระบบที่พัฒนาขึ้นจะทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานเบื้องต้น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2) ด้านหน้าที่ของระบบ 3) ด้านการใช้งานระบบ และ 4) ด้านความปลอดภัยของข้อมูลของระบบ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ<br />โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ครูที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาจำนวน 4 คน และนักเรียนระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยระบบที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 ส่วนความพึงพอใจในการใช้งานของระบบจากผู้ใช้งาน พบว่าระดับความพึงพอใจต่อระบบในทุก ๆ ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ตามลำดับ</p> ภัชราภรณ์ พิมพา , ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ, นิติเศรษฐ์ หมวดทองอ่อน Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/265275 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถ่านกัมมันต์ ที่ได้จากเปลือกและเมล็ดมะขาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/259201 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์จากเปลือกและเมล็ดมะขามด้วยวิธีการกระตุ้นทางเคมีและกระบวนการคาร์บอไนซ์ โดยนำเปลือกและเมล็ดมะขามที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่ากับ 11.69 และ 7.20 มาเผาที่ 400 องศาเซียลเซล เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ถ่านเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 37.29 และ 31.37 ตามลำดับ จากนั้นกระตุ้นด้วยกรด H<sub>3</sub>PO<sub>4</sub> และเผาที่ 500 และ 600 องศาเซียลเซล เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พบว่า ถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิด ที่สังเคราะห์ได้ประกอบด้วย เปลือกมะขามเผาที่ 500 องศาเซียลเซล (AC-1) เปลือกมะขามเผาที่ 600 องศาเซียลเซล (AC-2) เมล็ดมะขามเผาที่ 500 องศาเซียลเซล (AC-3) และเมล็ดมะขามเผาที่ 600 องศาเซียลเซล (AC-4) มีค่าร้อยละเท่ากับ 28.77, 27.16, 28.68 และ 28.00 ตามลำดับ แล้วนำมาหาค่าการดูดซับไอโอดีน (Iodine Number) พบว่า ถ่านกัมมันต์ AC-3 และ AC-4 มีค่าการดูดซับไอโอดีนมากกว่า 600 mg/g (643 และ 717 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ) จากนั้นนำถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิด มาศึกษาการดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า ถ่านกัมมันต์ชนิด AC-2, AC-3 และ AC-4 มีประสิทธิภาพในการดูดซับตะกั่ว (II) ไอออนได้ใกล้เคียงกันทุกความเข้มข้น และถ่านกัมมันต์ชนิด AC-4 มีประสิทธิภาพในการดูดซับสังกะสี (II) ไอออนได้มากที่สุด รองลงมาเป็นถ่านกัมมันต์ชนิด AC-3 AC-2 และ AC-1 ตามลำดับ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ พบว่า ถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ คือ ถ่านกัมมันต์ (AC-4) ที่ได้จากเมล็ดมะขามที่ถูกกระตุ้นด้วยกรด H<sub>3</sub>PO<sub>4</sub> และเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซียลเซล เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และถ่านกัมมันต์ <br />AC-3 และ AC-4 ใช้เป็นถ่านกัมมันต์ชนิดผงในระดับอุตสาหกรรมได้</p> เอื้อมพร รัตนสิงห์ , โชคชัย แจ่มอำพร, อภิชาติ จิณแพทย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/259201 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเก็บเมล็ดกาแฟ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263772 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำหรับโรงเก็บเมล็ดกาแฟ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำหรับโรงเก็บเมล็ดกาแฟ การออกแบบและพัฒนาระบบประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ดังนี้ 1) บอร์ด NodeMCU ESP8266 ทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ 2) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น 3) จอแสดงผลแอลซีดีขนาด 16x2 4) รีเลย์ และ 5) พัดลมระบายอากาศ ส่วนของซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย 1) โปรแกรม Arduino IDE สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของบอร์ด 2) ภาษา C/C++ สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานในบอร์ด 3) โปรแกรม MySQL ใช้ในการสร้างและจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้น 4) โปรแกรม Apache Web Server ใช้ในการจัดทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อรับข้อมูลที่ส่งมาจากบอร์ดคอนโทรลเลอร์ และ 6) แอปพลิเคชัน Blynk ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน โดยทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเก็บเมล็ดกาแฟ ระบบจะทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในโรงเก็บเกิน 30 องศาเซลเซียส หรือมีความชื้นเกิน 68 เปอร์เซ็นต์ โดยการสั่งให้พัดลมระบายอากาศทำงาน และหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นอยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ระบบสามารถ<br />การบันทึกข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นลงฐานข้อมูล ระบบสามารถแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิ หรือความชื้นเกินค่าที่กำหนดไว้ผ่านแอปพลิเคชัน LINE และผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ระบบทำงานแบบอัตโนมัติ หรือต้องการควบคุมระบบด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน Blynk การประเมินประสิทธิภาพของระบบ ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบจำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามในการประเมินผล ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบพบว่า ในภาพรวมประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.37, S.D. = 0.57)</p> ชัยวิชิต ไพรินทราภา Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/263772 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงดินทรายจัดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262973 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงสมบัติของดินทราย และเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ไบโอชาร์ในการศึกษาครั้งนี้<br />ผลิตจากเศษข้าวโพด ผลการวิเคราะห์สมบัติพบว่า มีพื้นที่ผิว และรูพรุน 103.14 ตารางเมตร/กรัม มีค่าความเป็นกรดด่าง 7.69 มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวก 56.14 เซ็นติโมล/กิโลกรัม โพแทสเซียมที่ใช้ได้ 21,146 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณฟอสฟอรัสที่นำไปใช้ได้ 440 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีปริมาณคาร์บอน 55.11 % <br />การวิเคราะห์สมบัติของดิน พบว่า เป็นดินประเภทดินทรายจัด มีค่าความหนาแน่นรวม 1.51 กรัม/ลบ.ซม. ค่าความหนาแน่นของอนุภาคดิน 2.58 กรัม/ลบ.ซม และมีค่าความพรุนประมาณ 47 % มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ เป็นกรดเล็กน้อย อินทรียวัตถุ และธาตุอาหารต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ การใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงดินด้วยการผสมในอัตราส่วน 1,000 กิโลกรัม/ไร่ และเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ปรับปรุงดินพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และ แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน สูงกว่าดินแปลงควบคุม ผลการทดลองเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า ไบโอชาร์สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ โดยผลผลิตเฉลี่ยของแปลงทดลองจำนวน 3 แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยไบโอชาร์ในอัตราส่วน 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 52.6 กิโลกรัม มากกว่าค่าเฉลี่ยแปลงทดลองที่ไม่มีการปรับปรุงดินซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 แปลงปริมาณ 46 กิโลกรัม ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มทดลองด้วย t-test พบว่า ทั้งสองกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการทดลองครั้งนี้จึงสามารถทำให้สรุปได้ว่า ไบโอชาร์ที่ผลิตจากเศษเหลือทิ้งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมกับการเกษตร</p> รัตถชล อ่างมณี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/262973 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเค้กหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261788 <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อพัฒนาสูตรพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ขนมเค้กหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบ โดยศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค คุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางจุลชีววิทยาและคุณค่าทางโภชนาการของขนมหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบ งานวิจัยนี้ได้นำชิฟฟ่อนเค้กสูตรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมเค้กหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบ โดยการศึกษาปริมาณกล้วยหอมที่ใช้ทดแทนน้ำตาลโตนด จากผลการทดลองพบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบด้านประสาทสัมผัสต่อขนมเค้กหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบที่ใช้ปริมาณกล้วยหอมทดแทนน้ำตาลโตนดที่ร้อยละ 50 และ75 โดยน้ำหนักและได้รับคะแนนความชอบมากสูงกว่าสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <u>&lt;</u> 0.05) คุณค่าทางคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์เค้กหม้อแกงกล้วยหอมอบกรอบ พลังงานทั้งหมด 484.03 กิโลแคลอรี พลังงานจากไขมันทั้งหมด 197.91 กิโลแคลอรี ไขมันทั้งหมด 21.99 กรัม ไขมันอิ่มตัว 8.32 กรัม โคเลสเตอรอล 373.63 มิลลิกรัม โปรตีน 15.78 กรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 55.75 กรัม ใยอาหาร 3.44 กรัม น้ำตาล 27.32 กรัม โซเดียม 272.36 มิลลิกรัม วิตามินเอ 149.90 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.145 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.386 มิลลิกรัม แคลเซียม 83.87 มิลลิกรัม เหล็ก 2.82 มิลลิกรัม เถ้า 1.82 กรัม และความชื้น 4.66 กรัม จากการวิเคราะห์คุณภาพทางด้านกายภาพของตัวอย่างที่ผ่านการคัดเลือกพบว่า มีค่าความแน่นเนื้อ ค่าความสว่าง (<em>L</em>*) ค่าความเป็นสีเหลือง (<em>b</em>*) ละค่าความเป็นสีแดง (<em>a</em>*) เท่ากับ 33.73 นิวตัน, 62.9 , 17.00 และ 30.43 ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์หาจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา พบว่า มีจำนวน จุลินทรีย์ทั้งหมด และจำนวนยีสต์และราต่ำกว่า 10 CFU/g ซึ่งเป็นค่าที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผลิตภัณฑ์ เค้ก (มผช.459/2555)</p> อารี น้อยสำราญ, ศจีมาศ นันตสุคนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/261788 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 ถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านไม้โกงกางที่ใช้ในการย่างไก่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267894 <p>งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเศษถ่านไม้โกงกางที่เหลือจากกระบวนการย่างไก่กับแป้งมันสำปะหลัง การผลิตถ่านอัดแท่งดำเนินการโดยนำเศษถ่านไม้โกงกางที่ใช้ในกระบวนการย่างไก่ มาตากแดดและนำมาร่อนด้วยตะแกรงขนาด 4 มิลลิเมตร เพื่อนำเศษขี้เถ้าออก หลังจากนั้นนำมาเข้าเครื่องบดถ่านเพื่อให้ถ่านมีความละเอียด นำเศษถ่านที่บดแล้วมาผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วนต่าง ๆ คือ อัตราส่วน 5%, 10%, 20% นำถ่านที่ผสมแล้วเข้าครื่องอัดถ่านเพื่อให้ถ่านเกิดการอัดตัวเป็นก้อน และนำไปตากแดด เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง คือ ค่าความร้อน ใช้วิธีวิเคราะห์ ASTM D 5865, ค่าความชื้น ASTM D 7582, สารระเหย ASTM D 7582, คาร์บอนคงตัว ASTM D 3176, เถ้า ASTM D 7582</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า เศษถ่านจากกระบวนการย่างไก่ สามารถนำมาทำเป็นถ่านอัดแท่งสำหรับนำกลับไปย่างไก่ได้ โดยจากการทดสอบ ค่าความร้อน อัตราส่วน 5%, 10%, 20% สามารถให้ค่าสูงสุดอยู่ที่ 6,403 , 6,140, 5,963 กิโลแคลอรี/กก.) สารระเหย 25.62%, 28.10% , 28.81% ถ่านคงตัว 60.18%, 55.50%, 55.19% และเถ้า 3.95%, 3.68%, 3.36% ผลการทดสอบดังกล่าว พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของถ่านอัดแท่งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2555) แต่ผลการทดสอบความชื้น มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย จากการทดลองสามารถสรุปอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการนำมาทำถ่านอัดแท่ง คือ อัตราส่วน 5% เพราะเป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าความร้อนที่สูง และประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะเป็นอัตราส่วนที่ใช้แป้งมันสำปะหลังน้อยกว่าอัตราส่วนอื่น ๆ การนำเศษถ่านที่ใช้แล้วมาทำการอัดแท่งใหม่ยังเป็นการช่วยลดปัญหาด้านการจัดการของเสียเหลือทิ้ง ช่วยลดการตัดไม้และมลภาวะจากการผลิตถ่านไม้</p> วราพร พึ่งพรหม, สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ, อภิรดี ศรีโอภาส, กุณฑลีย์ บังคะดานรา, สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267894 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาสมรรถนะเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ สำหรับเกษตรกรฐานรากในครัวเรือน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/264846 <p>การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ และ2) วิเคราะห์สมรรถนะเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ในพื้นที่แปลงเกษตร โครงสร้างส่วนหางลากใบตัดมีขนาดความกว้าง 120 เซนติเมตร และความยาว 140 เซนติเมตร ประกอบด้วยเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบ 4 จังหวะ ขนาดกำลังเครื่องยนต์ 6.3 กิโลวัตต์ ส่งกำลังผ่านไปยังสายพานชนิดร่อง B เบอร์ 47 และ 48 เพื่อไปหมุนใบตัดขนาดความกว้าง 42 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ สามารถปรับระดับความสูงของใบมีดจากระดับพื้นระหว่าง 3-26 เซนติเมตร ล้อเคลื่อนที่จานประกบขนาด 6 นิ้ว ขนาดยาง 4.10/3.50-6 ทดสอบสมรรถนะการทำงาน โดยติดตั้งใช้งานร่วมกับรถเครื่องยนต์ขนาดเล็กขนาด 125 ซีซี ในพื้นที่ขนาด 1 ไร่ หาค่าเฉลี่ย 3 ครั้ง ด้วยการเคลื่อนที่ของรถลากความเร็วเฉลี่ย 5-7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับ 0.86 ลิตรต่อไร่ ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดหญ้าเท่ากับ 21.52 นาทีต่อไร่ หรือทำงาน 1 ชั่วโมง จะสามารถตัดหญ้าได้พื้นที่ 2.79 ไร่ต่อชั่วโมง และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องตัดหญ้าสะพายบ่ามีสมรรถนะการทำงานมากกว่าร้อยละ 52.18 ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เมื่อลงทุนจัดสร้างเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ 29,000 บาท เมื่อทำงาน 12 วันต่อปี จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 9.09 ไร่ต่อปี และสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1.80 ปี หรือประมาณ 1 ปี 9 เดือน 18 วัน</p> ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต, ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล, อาทิตย์ คำต่าย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/264846 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700 การผลิตวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267495 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของธูปฤาษี และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการผลิตวัสดุทดแทนไม้อัด 2) ศึกษาคุณสมบัติของวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และ 3) ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยศึกษาอัตราส่วนของธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการผลิตวัสดุทดแทนไม้อัด 5 อัตราส่วน ได้แก่ 1) ธูปฤาษี 90 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 2) ธูปฤาษี 50 กรัม : ฟางข้าว 30 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 3) ธูปฤาษี 50 กรัม : ฟางข้าว 30 กรัม : แกลบ 10 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 4) ธูปฤาษี 70 กรัม : ฟางข้าว 20กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม และ 5) ธูปฤาษี 70 กรัม : ฟางข้าว 20 กรัม : แกลบ 10 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม ผลการวิจัย พบว่า วัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้ง 5 อัตราส่วน มีลักษณะสีตาลอ่อนถึงเข้ม ผิวสัมผัสเรียบ มีการยึดติดแน่น ไม่มีเศษวัสดุหลุดออกมา ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คืออัตราส่วนที่ 3 มีความหนาแน่น 605.21 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่าความชื้นร้อยละ 12.78 การพองตัวตามความหนาร้อยละ 18.05 ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 ส่วนความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้ามีค่ามากที่สุดที่ 0.37 เมกะปาสคาล และนำวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้แก่ ที่วางโทรศัพท์มือถือ กล่องใส่ของอเนกประสงค์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร</p> ธนากร เมียงอารมณ์ , ธิติมา เกตุแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/267495 Tue, 12 Mar 2024 00:00:00 +0700