ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์กรกับความพึงพอใจ ในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทรงพล ชื่นนิรันดร์ , วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล, ชุติมา เรืองอุตมานันท์

ผู้แต่ง

  • ทรงพล ชื่นนิรันดร์
  • วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล
  • ชุติมา เรืองอุตมานันท์

คำสำคัญ:

ความยุติธรรมในองค์กร, ความพึงพอใจการทำงาน, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์กรกับความพึงพอใจ ในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 198 คน สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า พนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความยุติธรรมในองค์กรโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความยุติธรรมใน
การแบ่งปัน และด้านความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความยุติธรรมในทางกฎหมาย และพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านผลตอบแทนที่ได้จากการทำงาน ด้านค่าจ้าง ด้านสภาพการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านเพื่อนร่วมงานและการดำเนินงานภายใน และด้านความมั่นคงในการทำงาน ความยุติธรรมในองค์กรโดยรวม ด้านความยุติธรรมในการแบ่งปัน และด้านความยุติธรรมในทางกฎหมายมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความพึงพอใจในการทำงานโดยรวม ดังนั้น ผู้บริหารหรือกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการให้ความยุติธรรมแก่พนักงานให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย และนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สาขาในการนำไปบริหารงาน การให้ความยุติธรรมในการดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

References

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2557). การสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2548). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธงชัย สันติวงษ์. (2548). องค์การและการบริหารการศึกษาการจัดการแผนใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).

ธงชัย สันติวงษ์. (2556). ข้อมูลทั่วไปธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). https://www.ktb.co.th (มกราคม 2557)

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). (2557). ข้อมูลประจำปี. https://www.ktb.co.th (กุมภาพันธ์ 2557)

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). การแข่งขันอย่างเสรี. https://www.bot.or.th (กุมภาพันธ์ 2557.)

นุชนารถ อยู่ดี. (2551). ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2552). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรความยุติธรรมองค์กรที่มีผลต่อ ความผูกพันองค์กรและเจตนาในการลาออกของพยาบาลระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลศิริราช. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2553). ความยุติธรรมในการแบ่งปัน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภัทรนฤน พันธ์ุสีดา. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ : กรณีศึกษา พนักงานระดับปฏิบัติ
การในองค์การของรัฐ แห่งหนึ่ง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรุฬ พรรณเทวี. (2552). หลักการทำงานให้เกิดความพึงพอใจในองค์กร. กรุงเทพฯ : เนชั่น.

สุรชัย เลศะวานิช. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทกระทรวงมหาดไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aaker, D. A., V. Kumar and G. S. Day. (2001). Marketing Research. 7th ed. NewYork : John Wiley & Sons,

Black, Ken. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. New York : John Wiley & Son.

DeConinck, J.B. and C. D. Stilwel. (2004). “Incorporating Organizational Justice, Role States, Pay Satisfaction and Supervisor Satisfaction in a Model of Turnover Intention,” Journal of Business Research. 57(3) March 2004 : 225 – 231.

Gilmer, B.V. (1971). Applied Psychology. New York : McGraw - Hill.

Haller. (1991). Industrial Psychology. 2nd ed. New York : McGraw-Hill.

Hoppock, R. (2008). Job Satisfaction. New York : Harper and Brothers.

Nunnally, Jum C. (1978). Psychometric theory. 2nd ed. New York : McGraw-Hill.

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)