การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสมองขั้นพื้นฐาน ตามทฤษฎีสมรรถภาพทางสมองของเทอร์สโตน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

ปริญา วงศ์เล็ก, ทวิกา ตั้งประภา, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ

ผู้แต่ง

  • ปริญา วงศ์เล็ก
  • ทวิกา ตั้งประภา
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ

คำสำคัญ:

เทอร์สโตน, ความสามารถทางสมอง, การพัฒนาแบบทดสอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสมองรวมทั้งสร้างเกณฑ์ปกติ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบทดสอบ ระยะที่ 2 การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ และระยะที่ 3 การสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4,653 คน ได้จากวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน และมีการวิเคราะห์ข้อมูลหาค่า IOC ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และคะแนนทีปกติ ผลการวิจัยปรากฏว่า ได้แบบทดสอบวัดความสามารถทางสมองขั้นพื้นฐานตามทฤษฎีสมรรถภาพทางสมองของเทอร์สโตน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ฉบับ ที่มีคุณภาพ ด้านความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีค่า IOC จากผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ความยากง่ายมีค่าตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.80 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 ความเชื่อมั่นทั้ง 5 ฉบับมีค่าเท่ากับ 0.83, 0.78, 0.83, 0.78, และ 0.86 ตามลำดับ และมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้างทั้ง 5 ฉบับ และการสร้างเกณฑ์ปกติในรูปคะแนนทีปกติของแต่ละฉบับ ปรากฏผล ดังนี้ ฉบับที่ 1 ด้านภาษา มีค่าทีปกติตั้งแต่ T32.24 ถึง T72.87 ฉบับที่ 2 ด้านจำนวน มีค่าทีปกติตั้งแต่ T31.42 ถึง T73.52 ฉบับที่ 3 ด้านเหตุผล มีค่าทีปกติตั้งแต่ T32.82 ถึง T74.80 ฉบับที่ 4 ด้านมิติสัมพันธ์ มีค่าทีปกติตั้งแต่ T31.35 ถึง T74.41 และฉบับที่ 5 ด้านการสังเกตพิจารณา มีค่าทีปกติตั้งแต่ T32.24 ถึง T72.61

References

กรมวิชาการ. (2542). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บุญชม ศรีสะอาด. (2526). แบบทดสอบวัดความถนัด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2534). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีทางสถิติส?ำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2530). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2541). เทคนิคการสร้างและสอบข้อสอบความถนัดทางการเรียนและความสามารถทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2553). หลักการวัดและการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2553). การวัดเชาวน์ปัญญาและความถนัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)