รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

สุทธิชัย นาคะอินทร์, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วันเพ็ญ นันทะศรี

ผู้แต่ง

  • สุทธิชัย นาคะอินทร์
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์
  • วันเพ็ญ นันทะศรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลของโรงเรียน, รูปแบบความสัมพันธ์, โครงสร้างเชิงเส้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรก สร้างและพัฒนารูปแบบสมมติฐานความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารจำนวน 124 คน และครูผู้สอนจำนวน 236 คน รวมทั้งหมดจำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .38 - .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ประกอบด้วย ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว มีตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัวแปร 2) การมีวิสัยทัศน์ มีตัวแป5 ตัวแปร และการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร และประสิทธิผลของโรงเรียน มีตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร

2. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ (Chi-Square : x2) เท่ากับ 46.17 ค่า df เท่ากับ 65 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .00 (Chi-Square =46.17, df = 65, P-value = .96, RMSEA = .00)

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิติมา วรรณศรี. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐพงษ์ สุขโข. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณทิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาสมพร สุริโย. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณทิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนร่วมจังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วิทยา นาควัชระ. (2555). อยู่อย่างสง่า. กรุงเทพฯ: ปรีชาธร อินเตอร์พริ้นท์.

สิรินารถ แววสว่าง. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถทศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณทิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดส?านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2547). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมประสงค์ โกศลบุญ. (2554). Creativity & Innovation…ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการแปรความคิดไปสู่นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณทิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.

Joreskog, K.G. & Sorbom, D. (1985). Lisrel : structural equation modeling with the SIMPLIS command languge. Chicago: Scientific software International.

Lussier,R,N. (2001). Effective leadership. 3rd ed. Sydney: Thomsom/South-Western.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)