ชุมชนโบราณในลุ่มแม่น้ำท่าจีน

ผู้แต่ง

  • กำพล จำปาพันธ์

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม, ชุมชนโบราณ, ลุ่มแม่น้ำท่าจีน, History of Socio-Cultural, Ancient Community sites, Tha Chin River Basin

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมของชุมชนโบราณย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีนในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ด้วยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจตรวจสอบและสืบค้นแหล่งโบราณสถานและศิลปวัตถุ พบว่าลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งอารยธรรมประวัติศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกอย่างกว้างขวาง ผ่านความรุ่งเรืองจากยุคทวารวดี เขมรพระนครและอโยธยาของสยาม ดังปรากฏร่องรอยหลักฐานของยุคสมัยดังกล่าวเป็นอันมากในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมหลายชาติพันธุ์เข้ามาอยู่อาศัยและประกอบสัมมาอาชีพอยู่ในพื้นที่ อาทิเช่น ไทย, ลาว, มอญ, เขมร, ยวน, แขก, จีน, เวียดนาม เป็นต้น เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญ ที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19-20 สูญหายไปจากสถานที่และความทรงจำของผู้คนในท้องถิ่น ภายหลังจึงเกิดการสร้างตำนานนิทานพื้นบ้านบอกเล่าความสำคัญ เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ซึ่งพบในพื้นที่มาก มีคุณูปการในการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีน เพราะสะท้อนถึงแง่มุมความคิดและความเชื่อของคนในท้องถิ่น

 

This Article is presenting the result of study of the socio-cultural in the ancient community sites at the Tha Chin river basin. By used the historical method of fieldtrips studies and researching survey the ancient sites and artifacts. Found that the Tha Chin river basin is an important of the civilization historical area of Southeast Asia. It had many to contracts and trades with the foreigners and had to prosperity in the Dvaravati era, Angkor of Cambodia, and Ayothaya of Siamese. It has according to the many evidences clues in this area. The Tha Chin river basin has abundances and socio-cultural diversities. Because the ethnic groups come to live in this area : Thai, Lao, Mon, Khmer, Yuan (or Yonok from Lanna), Muslim, Chinese, Vietnamese etc. But the ancient historical sites has dating in before the 19-20th Buddhist centuries has lost from the sites and the memories of local peoples. In later they are therefore made the folktales for mention in this area, For example : the folktales of Thao Uthong which many found that in the memory sites. These folktales have contribution for the studies of social and cultures in Tha Chin river basin history. Because it was reflect to the thoughts and believes of local peoples.

Downloads