การสร้างศิลปกรรมรูปครุฑ จากอดีตสมัยสืบสานสู่ปัจจุบันในภูมิภาคเอเชีย

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ สาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี

คำสำคัญ:

ครุฑ, อดีตสมัย, เอเชีย, Garuda, ancient civilization, Asia

บทคัดย่อ

ศิลปกรรมรูปสัตว์ผสมมนุษย์มีมาแต่อดีตสมัยยุคประวัติศาสตร์ในอารยธรรมที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มแม่น้ำสำคัญๆตั้งแต่ศิลปะลุ่มแม่น้ำไนล์ (อียิปต์โบราณ) ศิลปะลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส (เมโสโปเตเมีย) ศิลปะลุ่มแม่น้ำสินธุ (อินเดีย) ศิลปะลุ่มแม่น้ำ ฮวงโห, แม่น้ำแยงซีเกียง (จีน) ศิลปะลุ่มแม่น้ำโขงสาละวิน (พม่า) และศิลปะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ไทย) ต่าง ปรากฏศิลปะสัตว์ผสมข้ามสายพันธุ์ที่น่าสนใจพบสัตว์ที่มีหัวเป็นนกลำตัวเป็นมนุษย์ผู้ชายซึ่งในประเทศไทยเรียกสัตว์ผสมชนิดนี้ว่า “ครุฑ” เป็นสัตว์กึ่งเทพ และเรียกว่าสัตว์หิมพานต์ตามคติไตรภูมิ ซึ่งศิลปกรรมรูป ครุฑได้ปรากฏในงานศิลปกรรมต่าง ๆ ทั้งเป็นสิ่งที่ประดับ อาคาร สถาปัตยกรรมในศาสนาต่าง ๆ แฝงด้วยนัยยะและความหมายต่างแนวคิดความเชื่อโดยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอินเดียโบราณถือเป็นต้นทางหรือเรียกว่าอารยธรรมแม่ที่ส่งต่ออิทธิพลทางศาสนาและรวมถึงศิลปะวัฒนธรรมอื่น ๆ ในดินแดนประเทศต่าง ๆ ในประเทศตะวันออกแถบทวีปเอเชียทั้งจีน ญี่ปุ่น ทิเบต ภูฏาน และเอเชียใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า ไทย และลาว ซึ่งทั้งหมดเป็น ประเทศที่รับเอาพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ฮินดูจากอินเดีย ต่างก่อเกิดศิลปกรรมรูปครุฑในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตาม ความเชื่อรสนิยมสู่อัตลักษณ์ เฉพาะของประเทศนั้น ๆ และยังขยายทางไปสู่รูปแบบ การสร้างสัตว์ผสมรูปครุฑและตามรูปแบบ (Style) เฉพาะตัวของศิลปินผู้สร้างในศิลปกรรมร่วมสมัยในปัจจุบัน

 

Half human half animal art has been around since the old era. It can be traced back to important ancient river valley civilization including Nile Valley (Ancient Egypt), Tigris-Euphrates River (Mesopotamia), Indus Valley (India), Huang Ho and Yangtze River (China), Khong and Salawin River (Myanmar) and Chaopraya River (Thailand). In Thailand, the half human half animal creature, with the head of a bird and the body of a man is referred to as “Garuda”. Garuda is a demigod and can also be regarded as a Himalayan creature (according to the legend of TraiBhumikatha—Sermon on the Three Worlds). Garuda has appeared in many forms of art including art for building decoration. Religious art conveys different meanings of concept and belief from all over the world. Indus Valley Civilization, especially, is the civilization that has influence on religion as well as art and culture of various areas in East Asia namely Japan, Tibet and Bhutan, and Southeast Asian countries like Indonesia, Vietnam, Cambodia, Myanmar, Thailand and Laos. People of these areas all inherit Buddhism, Brahmanism and Hinduism from India. While practicing the religions, a lot of different forms of Garuda arts have been created in accordance with the unique taste and identity of each area. Now, the pattern of Garuda art differs and depends on the unique style of each contemporary artist.

Downloads