พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • นงลักษ์ ยุทธศิลปเสวี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • สุรีย์ สุทธิสารากร สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสารสนเทศ, การรู้สารสนเทศ, การแสวงหาสารสนเทศ, information literacy behavior, information literacy, information seeking

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ภาคปกติ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยสุ่มตัวอย่างจากนักศึกษา 5 คณะ จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมี 2 ประเด็น คือ พฤติกรรมการค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาต่าง ๆ พฤติกรรมด้านการค้นคว้าในชีวิตประจำวันของนักศึกษา สรุปได้ดังนี้

1. พฤติกรรมด้านการค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาต่างๆ พบว่า ประเภทของงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายมากที่สุด คือ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียนประกอบรายงาน และส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมการค้นหา (เช่น Google, Yahoo, Ask.com) แหล่งข้อมูลที่นักศึกษาค้นได้ในห้องสมุดส่วนใหญ่จะประเมินสารสนเทศว่าแหล่งข้อมูลนั้นมีบรรณานุกรม หรือ รายการอ้างอิงหรือไม่ ส่วนแหล่งสารสนเทศในเว็บไซต์นักศึกษาจะประเมินจากความทันสมัยของสารสนเทศ และนักศึกษาให้เพื่อนที่เรียนด้วยกันช่วยประเมินแหล่งข้อมูล ด้านวิธีการศึกษาค้นคว้าในรายวิชาต่าง ๆ นักศึกษาจะเพิ่มมุมมองของตัวเองในงานค้นคว้า และประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของนักศึกษา คือ การเริ่มต้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย และ ความยากในการกำหนดหัวข้อรายงานและการกำหนดว่าสารสนเทศที่ใช้ทำรายงานมีความเพียงพอหรือไม่

2. พฤติกรรมด้านการค้นคว้าในชีวิตประจำวันของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ค้นคว้า ข่าว / เหตุการณ์ปัจจุบัน และใช้โปรแกรมค้นหา (เช่น Google, Yahoo, Ask.com) เป็นสืบค้นสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หรือ แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันโดยนักศึกษาส่วนใหญ่จะพิจารณาจาก ผู้จัดทำ / หน่วยงานที่จัดทำเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและ ขอให้อาจารย์ผู้สอนช่วยประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาสืบค้นด้านความยากในการสืบคน้ สารสนเทศ นักศึกษาส่วนใหญ่ เห็นว่า การร้วู ่าข้อมูลที่ต้องการหามีในเว็บไซต์แต่หาข้อมูลไม่พบเป็นเรื่องที่ยากที่สุด

 

The purpose of this research was to study information literacy behavior of undergraduate students of Phetchabun Rajabhat University. A sample group of 375 students was drawn from the 2nd-4th year students who enrolled in the first semester of academic year 2015, selected by stratified random sampling. The data were analyzed using descriptive statistics, including percentage, mean and standard deviation.

Research findings were presented on two topics: information literacy behaviors for course related research assignments and information literacy behaviors for everyday life research.

Information literacy behaviors for course –related research assignments, it was found that the most frequent assignment students received during the whole academic year was class project. The resource students depended on the most to search for information was search engines. The resources that they were largely reliant on was classmates and the criteria used to evaluate the information every time they found was bibliography or reference lists. When searching for information on websites, students took into consideration how up to date the web pages were. Those often asked to help with information evaluation was classmates. Methods often used while searching for the information was adding their point view in the assignment to show instructors what they think. It was also found that students had problems in making the report from the beginning of the assignment.

Information literacy behaviors for everyday life research, findings showed that students had carried out for everyday life research included news and current events. The resource that most students always consulted during their everyday life research process was search engines. When students found a source for everyday life research, they often considered the reliability of the information providers on websites. Those who were asked for help with information evaluation at the highest level were instructors. Regarding searching procedures, the procedure found difficult was finding sources to use “out on the web.”

Downloads