การบริหารจัดการโฮมสเตย์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา ชุมชนผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กานต์ชนก ดาบสมเด็จ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, โฮมสเตย์, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, Management, Home Stay, The Sufficiency Economy Concept

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนผู้ไทยบ้านโพนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการโฮมสเตย์ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาโดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 2. การสำรวจเก็บและรวบรวมข้อมูลภาคสนาม 3. การจัดเวทีชาวบ้านและระดมความคิดกับผู้นำชุมชน 4. วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลและสรุปออกมาเป็นรายงานและผลการวิจัย

จากการศึกษาวิจัยทำให้ได้ข้อมูลบริบทชุมชนของแหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ามีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนผู้ไทยบ้านโพน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและประเพณีการแต่งกายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบผู้ไทยที่ดำเนินแบบพอเพียง การทอผ้า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทำเครื่องจักสาน การทำสวนพุทรา ที่นอกเหนือจากการทำใช้แล้วยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกของชุมชนอีกด้วย โดยเฉพาะผ้าไหมแพรวาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวและได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีแห่งไหม แต่จากการศึกษาวิจัยได้พบประเด็นปัญหาในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ของชุมชน และผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้จนถึงขนาดทำให้การดำเนินการโฮมสเตย์ต้องหยุดชะงักไม่เป็นไปตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

ผู้วิจัยได้ศึกษาถีงกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการโฮมสเตย์โดยการจัดเวทีชาวบ้านและผู้นำชุมชน ทำให้ทราบถึงปัญหาของชุมชนในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ชัดเจนขึ้น ชุมชนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวและบริหารจัดการโฮมสเตย์ของชุมชนให้มีความเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่โดยพึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีบทบาทในการส่งเสริมให้มากขึ้นและต่อเนื่อง และร่วมกับชุมชนหาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผู้ไทยบ้านโพนต่อไป

 

The purposes of this research are1) to study cultural tourism of Phutai Bann Pone Community Kammung District Kalasin Province, 2) to study for community-based tourism in Bann Pone based on a concept of Sufficiency Economy and 3) to study some extents to home-stay management based on a concept of Sufficiency Economy of Phutai Bann Pone community, Kammung District, Kalasin Province. In a part of the research methodology, the researcher uses an approach of quantitative research. The four-step process is relevant to 1) studying the literature reviews of tourism, 2) surveying and collecting involved data in the area, 3) organizing the community stage and brainstorming thoughts from leaders in the community and 4) analyzing gathered data and summarizing reports and results.

This research explores the context of Tourism in Bann Pone Community Kammung District, Kalasin Province. It was found that Bann Pone Community located in Kammung District, Kalasin Province is capable in manipulating cultural tourism, which was then developed based on the concept of Sufficiency Economy. The Phutai cultural and traditional clothing were outstanding and unique. The traditions of Phutai ethnical lifestyle such as weaving, sericulture, wickerwork and jujube gardening relied on the sufficiency economy They were produced not only for the purpose of daily life usage but also for exporting and selling in community. Especially, Phrae-Wa Silk became a unique cloth of the northeast. Phrae-Wa Silk of Phu Thai community was renowned as queen of Thai silk.

One of the problems found in this research was that the management of home-stay tourism towards the participation of the community is major problem. Another is that, there were the lacks of the educated specialists not having enough knowledge of home stay management. Local agencies or organizations were not able to meet required objectives.

Downloads