กลยุทธ์การดำรงชีพที่ชาวนาในพื้นที่ดอนนำมาใช้เพื่อความอยู่รอด : กรณีศึกษา ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญา พงษ์ราศรี สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ยุวัฒน์ วุฒิเมธี สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สานิต ฤทธิ์มนตรี สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การดำรงชีพ, ความเปราะบาง, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการ, Livelihoods, Vulnerability, Transforming structure and process

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์ที่ชาวนาในพื้นที่ดอนนำมาใช้ในการดำรงชีพ 2) สินทรัพย์ทุน ความเปราะบาง และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของชาวนาในพื้นที่ดอนโดยการศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ชาวนา จำนวนทั้งหมด 10 คน ที่ทำนาในพื้นที่ดอน และอาศัยอยู่ในตำบลโพทะเล

ผลการศึกษาพบว่า ทุนหลัก ๆ ที่ชาวนานำมาใช้ ได้แก่ ทุนกายภาพ คือ น้ำจากชลประทาน และทุนเงินตรา ได้มาจากการกู้เงิน และรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม เป็นต้น ส่วนความเปราะบางต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีพมีหลายประการ ดังนี้ ภัยหนาวความเจ็บป่วย การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิต ดินเสื่อมโทรม สูญเสียที่นา ราคาข้าวตกต่ำและน้ำชลประทานงดส่ง ซึ่งชาวนามีวิธีการดำรงชีพให้อยู่รอด ดังนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต มีอาชีพเสริม ลดต้นทุนการผลิต ปรับตัวตามสภาพภูมิอากาศ และสร้างความยืดหยุ่นในการใช้สินทรัพย์ทุนที่มีอยู่ ทั้งนี้ ชาวนาจะอยู่รอดได้นั้นรัฐบาลควรช่วยเรื่องราคาข้าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

The Objectives of this research are to 1) strategies of farmers in upland rice farm used for livelihoods and 2) capital assets, vulnerability and transforming structure and process influencing the livelihoods of farmers in upland rice farm. This research is qualitative research case study. Qualitative data collected by in-depth interview. Key informants were 10 farmers from upland farm and live in Pho Tale Sub-district.

The results of research found that the farmers selected different capital to cope with crisis and their economic situations including physical and financial capital such as irrigation system, loan money, and income from part-time self-employment. The vulnerability context affected farmers livelihood consisted of cold season, sickness, change the mode of production, soil degradation, losing farmland, low prices of rice, and shortage of irrigated water. The livelihood strategy of farmers that used to deal with comprising increasing income from change the mode of production, part-time self-employment, reduce production costs, acclimation, capital resilience. The recommendation of this study suggests that government set up the stability of rice prices in reasonable amount.

Downloads