พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับธรรมาภิบาลแนวพุทธ

Main Article Content

สุวิทย์ ภาณุจารี

Abstract

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระนามเต็มว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชาผู้ทรงธรรมอันประเสริฐ มีพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยวัตรงดงาม ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาคุณ ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของประชาชนชาวไทย นับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นต้นมา พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และด้วยพระปรีชาสามารถในพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ อาทิ พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข แสดงถึงพระอัจฉริยภาพในการบูรณาการความรู้หลากหลายในเชิงสหวิทยาการ เป็นผลให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จด้วยดีเสมอมา ยังความผาสุกให้เกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ตามควรแก่อัตภาพเป็นลำดับมา

Article Details

How to Cite
ภาณุจารี ส. (2016). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับธรรมาภิบาลแนวพุทธ. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(1), 135–148. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/185085
Section
Academic Article

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2538). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ(บอกเล่ม/ข้อ/หน้าในเนื้อหา) เล่ม 10,11, 20, 21, 23, 24, 25, 28. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ อิสริยาภรณ์ อุวรรณโณ.(31 สิงหาคม 2554). “ธรรมรัฐ-ธรรมราชา(ตอน 2): ธรรมาภิบาลพุทธ” เดลินิวส์. หน้า 8.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).(2545). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2549). ปรัชญาในวรรณคดีสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: SUNPPINTING.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2530). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Kettl, D.F. (2005). The Global Public Management Revolution. 2.nd Washington, D.C.: Brooking Institution Press.

Lynn, Jr., L.E., C.J. Heinrich, and C.J. Hill. (2001). Improving Governance: A New Logic for Empirical Research. Washington, D.C.: Georgetown University Press.

Rhodes, R.A. (1996). “The New Governance: Governing without Government.” Political Studies, 44, 4 (September), 652-667.