The Analysis of The approach for the Democratic Civic Education in School integrated with the Seven Sappurisadhama Principles

Main Article Content

ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี

Abstract

การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาของไทยได้มีความพยายามในการพัฒนาคนเพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น และสืบต่อเนื่องมาจนถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรของไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ได้บัญญัติคำว่า “พลเมือง” ลงไปในเนื้อหาซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในกฎหมายรัฐธรรมนูญในฉบับที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าพลเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากวิกฤตความแตกแยกของประชาชนในประเทศ การสร้างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะช่วยลดความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ด้วยเหตุผลที่พลเมืองมีคุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือประการที่ 1 มีความเชื่อในวิถีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง (Non-Violence) ประการที่ 2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในรัฐหรือชุมชนการเมือง (Body Politics) เดียวกัน แม้จะมีความขัดแย้งกันก็ควรปฏิบัติต่อกันเยี่ยงสุภาพชน (politeness) และประการที่ 3 คือ พลเมืองในรัฐหรือชุมชนการเมืองเดียวกัน ควรจะใฝ่หาสันติมากกว่าสงคราม (Peace-Loving) (วิชัย ตันศิริ, 2557 : 21) รัฐบาลชุดปัจจุบัน (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงกำหนดนโยบายเร่งด่วน นโยบายด้านที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อปฏิรูปการศึกษา ใน 5 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ 4.1) จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ 4.2) ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยอาจจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง 4.3) ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ 4.4) พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และ 4.5) ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
วงศ์ณาศรี ป. (2016). The Analysis of The approach for the Democratic Civic Education in School integrated with the Seven Sappurisadhama Principles. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(1), 149–161. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/185086
Section
Academic Article

References

จรัญ พยัคฆราชศักดิ์ และกวี อิศริวรรณ. ม.ป.ป. หนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ ส 0113 พระพุทธศาสนา (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด).

ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด. 2555. รายงานวิจัยความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). กรุงเทพ ฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ทรงศิริ วิชิรานนท์ 2556. คุณลักษณะพลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปลินธร เพ็ชรฤทธ. 2550. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาของครูสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2540) ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา).

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2548. ภาษาธรรม. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง).

วิชัย ตันศิริ. 2557. ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย. (กรุงเทพมหานคร : บริษัทพรีเพรส จำกัด).

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. 2548. รายงานการวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สถาบันพระปกเกล้า. 2555. รายงานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันปกเกล้า).

สุจิตรา วันทอง. 2556. การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา. ในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.

สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). 2549. ธรรมศึกษา. (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา).

Print and Lange .2012. Schools ,Curriculum and Civic Education for Building Democratic Citizens. (Sysney : Sense Publishers).