หลักพุทธปัญญา : วัฒนธรรมองค์กรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตองค์กรทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ สุเมโธ

Abstract

องค์การในปัจจุบันต้องการให้ธุรกิจของตนเติบโต และได้เปรียบการแข่งขันอยู่ตลอด เวลาโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ บุคลากรที่มีคุณภาพถือเป็นทรัพยากรสำคัญ สามารถสร้างความได้เปรียบแก่องค์การ แต่ต้องเชื่อมโยงบุคลากรเข้ากับองค์การด้วยค่านิยมขององค์การ (Corporate Values) เพื่อให้พนักงานผูกพัน (Commitment) ต่อองค์การค่านิยมนี้แสดงออกมาในรูปของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture หรือ Corporate Culture) ซึ่งเป็น ความเชื่อ ค่านิยมและแบบแผนของพฤติกรรมที่พนักงานมีและปฏิบัติร่วมกัน ในรูปคำพูด ความคิด การเรียนรู้ การกระทำหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในองค์การ สามารถทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้หรือกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมองค์การทำให้พนักงานแสดงพฤติกรรมการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การด้วยความผูกพันต่อความเชื่อและค่านิยมที่มีร่วมกัน

Article Details

How to Cite
สุเมโธ พ. . ส. (2017). หลักพุทธปัญญา : วัฒนธรรมองค์กรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตองค์กรทางพระพุทธศาสนา. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 8(1), 189–196. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/188660
Section
Academic Article

References

เกศรา รักชาติ. องค์กรแห่งการตื่นรู้. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด. ๒๕๔๙.

จารุวรรณ ประดา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ความพร้อมขององค์การกับความยึดมั่นผูกพันขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลจิตเวช. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๕.

จินต์ทอง แสนคงสุข, และคณะ. วัฒนธรรมองค์การของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ๒๕๔๕.

จุฑา เทียนไทย. การจัดการมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล. ๒๕๕๐.

บัญญัติ ท้วมสุข. วัฒนธรรมองค์การบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. ภาคนิพนธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ๒๕๔๙.

พสุ เดชะรินทร์. (๒๕๔๙). องค์กรอัจฉริยะ (Online). Available From : http://www.e-apic.com/article/Seven.htm [เข้าถึงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕].

เพ็ญผกา พุ่มพวง. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะเชิงวิชาชีพ วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์ คุณภาพชีวิตการทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันในองค์กรของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๗.

ทองใบ สุดจารี. ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 5. อุบลราชธานี : คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. ๒๕๔๕.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. ๒๕๔๘.

วงเดือน จานสิบสี. วัฒนธรรมองค์การธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. ภาคนิพนธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ๒๕๔๘.

วรนุช เนตรพิศาลวนิช. การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๘.

วราพร สีสุขโข. วัฒนธรรมองค์การสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ. กรุงเทพมหานคร : สารนิพนธ์ นักศึกษาปริญญโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๘.

วิจารณ์ พานิช. วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์. ๗๓. ๒-๓. ๒๕๕๐.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ Management, กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า. ๒๕๕๐.

วัฒนธรรมองค์การ (organizational culture) (Online). แหล่งที่มา : http://mbaru.blogspot.com/ 2010/12/organizational-culture.html [เข้าถึงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕].

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์. ๒๕๔๘.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ธีระป้อมวรรณกรรม. ๒๕๔๔.

สมยศ นาวีการ. การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายเชิงธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตะวันออก. ๒๕๔๑.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. ทำอย่างไรให้เขายอม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ๒๕๔๗.

สุนีย์ เอมดวงดี. “วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร”. รัฐประศาสนศาสตร์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.

สุรพงษ์ มาลี. วัฒนธรรมแห่งการเป็นองค์กรแห่งการตื่นรู้ : แนวทางใหม่ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล. วารสารข้าราชการ. ๔. ๔๐-๔๕. ๒๕๕๐.

สุเมธ เดียวอิศเรศ. พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : รุ่งโรจน์การพิมพ์, ๒๕๒๕ : ๓๕-๓๗.