การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมบนพื้น ฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว (Green Map) ของชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

Main Article Content

อรจนา แสนไชย จันทรประยูร
สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อใช้พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและทัศนคติของชุมชนในด้านการจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวและพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 3) ศึกษารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ขอบเขตในการศึกษา คือ ชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การทดสอบทักษะการกำหนดโปรแกรม และการสังเกตพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า ชุมชนได้ร่วมการสังเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้เกิดกระบวนการร่วมกันวางแผนพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว โดยโปรแกรมที่ถูกพัฒนาแล้ว คือ โปรแกรมศึกษาธรรมชาติ และโปรแกรมศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และระดับทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้านการจัดทำโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในระดับดีมาก
รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนมีดังนี้ 1) กระบวนการ ได้มีการนำเอากระบวนการมีส่วนร่วมเข้ามาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ร่วมคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ และติดตามประเมินผล 2) ผลผลิต คือ รูปแบบในการเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดทำ โปรแกรมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 3) ผลลัพธ์ ชุมชนได้ ตระหนักถึงบทบาทการเป็นเจ้าของในการดูแล จัดสรรและอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2013). Creative Tourism Concept [Online]. Retrieved 12 November 2013 from: http://www.dasta.or.th/ th/sustainable_creative-tourism.html. (in Thai)
2.Emphandhu, D. (2007). Community Based Tourism Development and Homestay Activities. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
3.Opasruttanakorn, O., Buddharat, C. & Tongkhundum, T. (2006). Needs of Kiriwong People to Study English for Tourism Business. Journal of Yala Rajabhat University, 1(2), 112 -119.(in Thai)
4.Thongma, W. (2010). Community Based Tourism for improving the quality of life in the forest area [Online]. Retrieved September 12, 2013, from: http://www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc. (in Thai)
5.Toyota Motor Thailand Co., Ltd. (n.d.). Green Tools [Online]. Retrieved September 12, 2013, from:
http://www.toyota-sgw.net/library_greentools.php.
6.Trirat, S., Ponghan, S., Dangsuwan, M. & Ponghan, K. (2013). Green Map for Sustainable Management of Community Tourism Resources. Research report. Maejo University.
7.Wurzburger, R., Aageson, T., Pattakos, A. & Pratt, S. (2009). Creative Tourism, A Global Conversation. New Mexico, USA.: Sunstone press.