เปรียบเทียบค่าความถี่มูลฐานเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาไทย และผู้พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ซอฟูวะห์ กูโน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบค่าความถี่มูลฐานของเสียงวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาไทยกับผู้พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานี โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกจากผู้บอกภาษาที่เป็นเพศหญิงที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่จำนวน 15 คน ซึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมตอนปลายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และผู้บอกภาษาที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่จำนวน 5 คน ซึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมตอนปลายในจังหวัดนราธิวาส การศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเป็นเสียงวรรณยุกต์โดยใช้รายการคำทดสอบ 15 คำ จากนั้นบันทึกเสียงลงในคอมพิวเตอร์ และนำเสียงวรรณยุกต์มาวิเคราะห์หาค่าความถี่มูลฐานทางกลสัทศาสตร์โดย ใช้โปรแกรม praat รวมทั้งหาค่าสถิติเพื่อหาความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างผู้บอกภาษาที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่กับผู้บอกภาษาที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ค่าความถี่มูลฐานของเสียงวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ในวรรณยุกต์คงระดับ (สามัญ เอก ตรี) มีความแตกต่างจากเจ้าของภาษาอย่างมีนัยสำคัญ และค่าความถี่มูลฐานของเสียงวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ในวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (โท จัตวา) มีความแตกต่างจากเจ้าของภาษาอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ผู้บอกภาษาที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่สามารถออกเสียงวรรณยุกต์คงระดับ (สามัญ เอก ตรี) ได้ดีกว่าวรรณยุกต์เปลี่ยน
ระดับ ซึ่งมีการนำสัทลักษณะของภาษาแม่มาใช้ในการออกเสียงเปลี่ยนระดับ (โท จัตวา)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Abramson, A. S. (1962). The Vowels and Tone of Standard Thai: Acoustical Measurements and Experiments. Bloomington: Indiana University Research Center in Anthropology, Fokelore and Linguistics.
2.Chuwarahawong, W. (2001). Tones in Bangkok Thai spoken by the Thai, the chao Zhou and the
Sikhs. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
3.Horpet, K. (2001). A comparison of the tones in standard thai words spoken by thai malay and chinese ethnic group in the villages of sadao and somnaktaew, sadao disirict, songkla province. Master’s Thesis. Thaksin University. (in Thai)
4.Henderson, J. A. (1982). Tonogenesis: Some Recen Speculations on the Development of tone. Transactions of the Philological Society, 80, 1-24.
5.Kangwansupapan, P. (2007) A contrastive Stady of Thai Tones between Khmer-Thai Siudents and Native Thai Students: Students in Pratom 1, Ban Kac Yai School and Mattayom 6, Sriphataisamun School, Surin Province vs. Students in Prathom 1 and 6, Kasetsart University Laboratory School. Master’s Thesis. Kasetsart University. (in Thai)
6.Phadung, M., Suksalchai, S., Kaewprapan, W., Sornrueng, S., Anunthasena, P. & Panaejaekah,R. (2013). States of Learning Experience for the Preschool Children Using Thai as Second Language and Tendency of Bilingual Multimedia Development: Case Study of Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 8(1), 31-39. (in Thai)
7.Phiasuphan, K. (2014). A comparison study of Bangkok Thai tones spoken by Thai and Indian speakers: A case study of gender. Journal of Languages and Cultures, 33(2), 65-89.(in Thai)
8.Saleh, R. (1986). Malay Languages in southern Thailand. Songkhla: Srinakharinwirot University. (in Thai)
9.Sinthawashewa, Th. (2009). The Bangkok Thai tones Produced By Japanese: An Acoustic And Perception Study. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
10.Songsri, Ch. (2001). A study of the tones in standard thai words spoken by people in su-ngikolok. Master’s Thesis. Thaksin University. (in Thai)
11.Strategic. (2017). Development Plan for Southern Border Provinces [Online]. Retrieved July 12, 2017, from: www.prd.go.th more.news. (in Thai)
12.Tingsabadh, K. & Deeprasert, D. (1997). Tones in standart Thai connected speech. In A. S. Abramson (ed). Southeast Asian Linguistic Studies in Honor of Vichin Panupong. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
13.Wong-ampai, N. (2009).The Bangkok thai tones produced by pattani malay children of 6-7 years old:An acoustic and perception stady. Master’s Thesis. Chulalongkon University. (in Thai)