ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ลลิตา พลพงษ์
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
สุภมาส อังศุโชติ
ทัสนี วงศ์ยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (2) ศึกษาปัจจัยพหุระดับที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน และ (3) สร้างโมเดลพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียน รวม 2,050 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยโดยใช้ โปรแกรมระดับชั้นลดหลั่นเชิงเส้น (HLM) ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนอยู่ใน ระดับมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านประสิทธิผลการบริหารงาน ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านความพึงพอใจในงานของครู (2) ปัจจัยพหุระดับที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำาดับได้แก่ ปัจจัยระดับโรงเรียน ระดับห้องเรียน และระดับนักเรียน (3) โมเดลพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนโดยใช้โปรแกรมระดับชั้นลดหลั่นเชิงเส้น (HLM) พบว่า (1) ความพร้อมของผู้เรียน พฤติกรรมการเรียน บรรยากาศในห้องเรียนตามการรับรู้ของนักเรียน ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง การสร้างแรงจูงใจในการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และทรัพยากรการบริหารส่งผลทางบวกต่อคุณภาพผู้เรียน (2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และภาวะผู้นำ ส่งผลทางบวกต่อความพึงพอใจในงานของครูและ (3) ภาวะผู้นำ ทรัพยากรการบริหาร และบรรยากาศองค์การส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรกฤช มีมงคล. (2548). การศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อของโครงการโรงเรียนสองภาษา ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ.สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
2.จรรจา สุวรรณทัต. (2545). ระบบครอบครัวกับระบบสังคม : ในประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
3.ชัยพร สกุลพนารักษ์. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษาสำหรับประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,ภาควิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4.เดือนเพ็ญ สุขสมาน. (2549). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ทางบวกในห้องเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มเขตเจ้าพระยา สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5.ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.นิพนธ์ วรรณเวช. (2548). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันราชภัฎ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7.บุญเรือง ศรีเหรัญ. (2542). การศึกษาองค์ประกอบทางการศึกษาที่สัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้และประสิทธิผลของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบระดับชั้นลดหลั่นสอดแทรกเชิงเส้น.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (2545).ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119.
9.ไพรินทร์ ดูปริก. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาของครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลกับสังกัดคณะนักบวช ในเขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
10.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ. (2549). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
11.เรืองยศ ไชยศึก. (2536). การศึกษาแบบผู้นำของผู้บริหารสตรีโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
12.วิเชียร วิทยอุดม. (2548). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิลม์และไซเท็กซ์ จำกัด.
13.วุฒิชัย เนียมเทศ. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14.สมจิตร อุดม. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15.สมบูรณ์ โพธิ์งาม. (2547). การบริหารการเรียนการสอน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในโรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, แขนงวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
16.สิทธิ์ จิตต์นิลวงศ์. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนสองภาษาสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17.สุทธิพงศ์ ยงค์กมล. (2543). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
18.สุวาทินี สลีอ่อน. (2549). กระบวนการบริหารการศึกษาของโรงเรียนสองภาษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, แขนงวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
19.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2548). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
20.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
21.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). สรุปข้อคิดเห็นเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี
22.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2547). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ : โรงเรียนสองภาษา
(English Program). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
23.Bloom, B. S. (1982). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw–Hill.
24.Gagné, R. M. (1985). The conditions of learning and theory of instruction. (4th ed.).New York: Holt, Rinehart and Winston.
25.Hickson, D. J., Hinigs, C. R., Lee, C. A., Schneck, R. S. & Pennings, J. M. (1971). A Strategic Contingencies Theory of Intra-Organizational Power. Administrative Science
Quarterly, 16, 216-229.
26.Reynolds, D. (1992). School Effectiveness and School Improvement: An Updated Review of the British Literature. In D. Reynolds & P. Cuttance (Eds.), School
Effectiveness: Research, Policy and Practice (p.11). Trowbridge, Wilts: Redwood Books.
27.Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2005). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. (7th ed.). New York: McGraw-Hill.
28.Knezevich, S. J. (1984). Administration of Public Education. (4thed.) New York: Harper and Row.
29.Lunenberg C. F. & Ornstein C. A. (2004). Educational Administration: Concepts And Practice. (4thed.). California: Wadsworth Publishing.
30.Reynolds, D., Creemers, B. P. M., Nesselrodt, P. S., Schaffer, E. C., Stringfield, S. & Teddie, C. (1994). School Effectiveness Research: A Review of the International Literature. In Advances in School Effectiveness Research and Practice. New York: Elsevier Science Inc.
31.Steers, R. M., Ungson, G. R. & Mowday, R. T. (1985). Managing Effective Organization: An Introduction. California: Wadsworth Inc.