รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมุสลิมที่มีภาษาแม่ต่างกัน

Main Article Content

มิสรอ จูมะ
ธัญภา พลานุกูลวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมุสลิมที่มีภาษาแม่ต่างกัน ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมุสลิมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่จำนวน 136 คน และที่มีภาษามลายูเป็นภาษาแม่จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ จำแนกเป็น 6 รูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนมุสลิมที่มีภาษาแม่ต่างกัน ประกอบด้วย 1) การเรียนโดยใช้การฟัง 2) การเรียนโดยใช้สายตา 3) การเรียนโดยใช้การกระทำ 4) การเรียนโดยการลงปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ 5) การเรียนด้วยตนเอง 6) การเรียนเป็นกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายพื้นฐานและการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่นักเรียนมุสลิมที่มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่ใช้มากที่สุดสามอันดับแรก คือ การเรียนโดยการลงปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนโดยใช้การฟัง 2) รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่นักเรียนมุสลิมที่มีภาษามลายูเป็นภาษาแม่ใช้มากที่สุดสามลำดับแรก คือ การเรียนโดยการลงปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนโดยใช้การกระทำ ทั้งสองกลุ่มใช้รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่เหมือนกัน คือ การเรียนโดยใช้การกระทำ การเรียนโดยการลงปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ การเรียนด้วยตนเอง และการเรียนเป็นกลุ่ม และรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันคือ รูปแบบการเรียนโดยใช้การฟัง และการเรียนโดยใช้สายตา ข้อเสนอแนะของงานวิจัยคือ ผู้สอนในโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลามควรปรับรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของนักเรียนมุสลิมทั้งสองกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Boonsuk, Y. (2009). English language Learning Styles of Pondok School Student in Southern Thailand. National Graduate Research Conference, 12, 1930-1939.

2. Brown, H. D. (2000). Principles of Language Learning and Teaching. (4th ed.). New York: Addison Wesley Longman.

3. Earley, C. & Ang, S. (2003). Cultural Intelligence: Individual interactions across Cultures. Stanford: Palo Alto, CA.

4. Hayikaleng, N. (2011).Comparisons of Problems in Teaching English at Upper Secondary level between Public Schools and Islamic Private Schools in Narathiwat. A Minor Thesis. Teaching English as an International Language, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. (in Thai)

5. House, R. J., Hanges, P. J., Javidan, M., Dorfman, P. W. & Gupta, V. (2004). Culture, Leadership and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies. London: Sage Publications, Inc.

6. Hofstede, G. (2001). Cultures Consequences: Comparing Values, Behavior, Institutions and Organizations Across nations. (2nd ed.). London: Sage Publications, Inc.

7. Jitmuad, S. (1992). Islamic Culture. Bangkok: Thangnum. (in Thai)

8. Khajornrit, B. (2007). Behavior of Teaching English of Foreign Teachers in the Opinion of Mathayom 1-3 Students at Private Schools in Pattaya City. Master’s Thesis of Curriculum and Instruction. Graduate School, Burapha University. (in Thai)

9. Keefe, J. W. (1982). Assessing student learning styles: An overview. In J. W. Keefe (Ed.), Student learning styles and brain behavior (pp. 43-53). Reston, VA: National Association of Secondary School Principals.

10. Kolb, A. D. (1981). Learning Style Inventory: A Self-Description of Preferred Learning Modes. Boston: Mc Bers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

11. Ministry of Education. (2001). The Basis Education B.E. 2544. (in Thai)

12. Oxford, R. L. (1990). Language Strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House/Harper Collins.

13. Park, C. C. (2000). Learning Style Preferences of Southeast Asian Students. Urban Education, 35, 245-268.

14. Puthong, L. (2009). English Teaching Methodology in Elementary Schools in the Upper Northern Region of Thailand. Research Project from Faculty of liberal Arts. Chiang Mai: Maejo University. (in Thai)

15. Reid, J. M. (1987). The learning style preferences of ESL Students. TESOL Quarterly, 21, 87-111.

16. Reynolds, M. (1997). Learning Styles: A Critique. Management Learning, 28, 115-133.

17. Walberg, H. J. (1989). The Effective Teacher. New York: McGraw-Hill.