โมเดลการวัดทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ภัทราวดี มากมี
กิติคุณ รสแก่น
จริยาพร อุตรวิเชียร
ชลิดา วรรณโพธิ์กลาง
นุชจรี อุทธจิต
ปภาวดี ทิพอุทัย
พินิต ชินสร้อย
อัญชลิกา เฟื่องฟุ้ง

บทคัดย่อ

ทักษะชีวิตมีความสำคัญกับยุคไทยแลนด์ 4.0 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในจังหวัดสระแก้วกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลองค์ประกอบทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในจังหวัดสระแก้วที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ และองค์ประกอบที่ 2 ทักษะชีวิตด้านสังคมและอารมณ์ แบ่งเป็น 10 ด้าน ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพความตระหนักในตนเอง  การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การจัดการความเครียด และการจัดการอารมณ์  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าน้ำหนักทักษะชีวิตทั้ง 10 ด้าน มีค่าเป็นบวก ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .50 ถึง .84 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านเหล่านี้อยู่ในองค์ประกอบทักษะชีวิตทั้ง 2 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .62 ถึง .81 โดยที่ด้านที่ค่าน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ส่วนองค์ประกอบที่ 2 ทักษะชีวิตด้านสังคมและอารมณ์  มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .50 ถึง .84 โดยที่ด้านที่ค่าน้ำหนักมากที่สุดได้แก่ ทักษะการเข้าใจผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Daengsuk, R. (2007). Upbringing affecting Life Skills of Matthayom Sueksa students at Piboonprachasan School, Din Daeng District, Bangkok. Bangkok: Ramkhamheang University. (in Thai)

2. Elias, M. J., Gara, M. A., Schuyler, T. F., Branden-Muller, L. R. & Sayette, M. A. (1991). The promotion of social competence: longitudinal study of a preventive school-based program. American Journal of Orthopsychiatry, 61(3), 409-417.

3. Feindler, E. L., Ecton, R. B., Kingsley, D. & Dubey, D. R. (1986). Group anger-control training for institutionalized psychiatric male adolescents. Behavior Therapy, 17(2), 109-123. doi:http://dx.doi.org/10.1016/S0005-7894(86)80079-X

4. Jareonsetsil, T. (2016). Policy focus Minister of Education [Online]. Retrieved October 3, 2016, from: http://bps.sueksa.go.th. (in Thai)

5. Komjakraphan, P., Balthip, Q., Naka, K. & Piriyakunthon, S. (2017). Development of the Harmony of Life Scale. Journal of Yala Rajabhat University, 12(Suppl.), 73-85. (in Thai)

6. Kongvimon, S., Thepsaeng, S. & Chatkamonthat, S. (2015). The Strategies of Developing for Student’s Life Skills. SWU educational administration journal, 12(22), 13 -22. (in Thai)
Macmillan Education. (2015). Income inequality, intergenerational mobility, and the Great Gatsby Curve: is education the key?. Social Forces, 94(2), 505-533.

7. Maryam, E., Mohamadi, M. D., Zahra, G. & Bahram, I. (2011). Effectiveness of life skills training onincreasing self-esteem of high school students. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 30, 1043-1047.

8. Mungmueng, S. (2012). Lesson Plans: Life Skills. Bangkok: Sootpaisanbewder. (in Thai).

9. Office of the Basic Education Commission. (2016). Basic Information [Online]. Retrieved June 10, 2016, from: http://www.moe.go.th. (in Thai)

10. Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire, England: McGraw-Hill.

11. Pipattanawong, W. (2014). Life Skills of Thai Teen in the 21st Century. Payap university journal, 24(2), 39 -63. (in Thai)

12. Polit, D. F., Beck, C.T. (2007). Focus on Research Methods Is the CVI an Acceptable Indicator of Content Validity? Appraisal and Recommendations. Research in Nursing & Health, 30, 459–467.

13. Rahmati, B., Adibrad, N., Tahmasian, K. & sedghpour, B. S. (2010).The Effectiveness of life skill training on Social adjustment in Children. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 5, 870-874. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.sbspro.2010.07.201

14. Ramesht, M. & Farshad, C. (2009). Study of life skills training in prevention of drug abuse in students [Online]. Retrieved May 25, 2009, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4105605/.

15. Smith, E. A., Swisher, J. D., Vicary, J. R., Bechtel, L. J., Minner, D., Henry, K. L., et al. (2004). Evaluation of life skills training and infused-life skills training in a rural setting: outcomes at two years. J Alcohol Drug Educ, 48, 51-70.

16. Voracharoensri, S. (2007). A Study of Life Skills and A Training Group Model Construction for Developing Life Skills of Adolescent Students. Dissertation, Ed.D. (Counseling Psychology), Srinakharinwirot University. (in Thai)

17. Wongpiromsan, Y. & Ruengkanjanaset., S. (2009). Life Skills. Bangkok: Thaihealth Info Center. (in Thai)

18. World Education. (2015). World Education Forum 2015 FINAL REPORT [Online]. Retrieved May 15 2015, from: http://unesdoc.unesco.org/images/0024/002437/243724e.pdf.

19. World Health Organization. (1997). Life Skill Education For Children and Adolescents in school. Geneva: World Health Organization.

20. Young, D. L., Goodie, A. S., Hall, D. B. & Wu, E. (2012). Decision making under time pressure, modeled in a prospect theory framework. Organ. Behav. Hum. Decis. Process, 118, 179–188. doi: 10.1016/j.obhdp.2012.03.00.