การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

เพ็ญศรี ศิริมงคล
ชิดชนก เชิงเชาว์
เกษตรชัย และหีม
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นของแบบประเมินประสิทธิภาพการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 390 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 8 ประการ ได้แก่ ความสามารถด้านวิชาการ ความสามารถด้านเทคโนโลยี  ความสามารถด้านการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม ความสามารถด้านการเครือข่าย  ความสามารถด้านการให้และส่งเสริมความร่วมมือ  ความสามารถด้านการสื่อสาร  ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์  และความสามารถด้านการดูแลเอาใจใส่ผู้เรียน  ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการสอนของครูด้านการดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนอยู่ในระดับสูงสุดและประสิทธิภาพการสอนครูด้านการสร้างเครือข่ายของครู  และด้านการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม อยู่ในระดับต่ำสุด ดังนั้นจึงควรให้มีการพัฒนาครูด้านการสร้างเครือข่าย  และด้านการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมอย่างจริงจัง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของครูในยุคศตวรรษที่ 21 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Choochom, A. (2009). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Bangkok: Behavioral Research Institute Srinakharinwirot University. (in Thai)

2. Greenstein, L. (2012). Assessing 21st Century Skills Aguide to evaluating masteryand authentic learning. United kingdom: 1 Oliver’s yard.

3. Jamornmarn, A. (2002). Exams: Creating and Developing. Bangkok: Funny Publishing. (in Thai)

4. Laohajaratsang, T. (2016). Teacher [Online]. Retrieved January 22, 2016, from: https://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/Cteachers.pdf. (in Thai)

5. Mihaela Voinea, T. P. (2014). Teachers’ professional identity in the 21st century Romania. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 128, 361 – 365.

6. Nilphan, M., Paivitayasiritham, C., Wanichwattanaworachai, S. & Songserm, A. (2015). Evaluation of Core Curriculum Core Curriculum in 2008. Fine Arts Education Research Journal, 7(1), 26-41. (in Thai)

7. Office of the Education Council. (2014a). An Analysis of Thai Studies in the 21st Century. Research Journal of Education, 2(4), 1-3. (in Thai)

8. Office of the Education Council. (2014b). Pilot Research to Develop Teacher Production Curriculum for the 21st Century. Research Journal of Education, 2(2), 33-44. (in Thai)

9. Panich, V. (2012). The way to learn for student in 21st . Bangkok: Sodsri – Saridwong foundation. (in Thai)

10. Saiyod, L., & Saiyod, A. (2000). The Evaluation Techniqs. Bangkok: Suwiriyasarn. (in Thai)

11. Songpan, W., Dechpichai, W. & Krahomwong, R. (2017). The Development of School Administrative Model for achieving Internal Quality Assurance of Secondary Schools in South Andaman Area. Journal of Yala Rajabhat University, 12(1), 117-130. (in Thai)

12. Teachers Council. (2013). Teachers Council [Online]. Retrieved November 30, 2016, from:
https://www.ksp.or.th. (in Thai)

13. Wangsrikoon, A. (2014). Thailand Educational in 21st Century: Productive and Development. Journal Pibulsongkran University, 8(1), 1 - 17. (in Thai)