การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

มูนีเร๊าะ ผดุง
เสาวนีย์ ดือราแม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 2) สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ศึกษาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดในการออกแบบมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกแบบสื่อประสม การออกแบบปฏิสัมพันธ์ การออกแบบการเรียนรู้ และแก่นเรื่องทางวัฒนธรรม 2) รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สอดคล้องตามหลักการเรียนรู้ภาษาที่เน้นความเข้าใจตามธรรมชาติ เน้นให้นักเรียนได้ฟังเนื้อหาทั้งหมดในบทนั้นๆ ก่อนด้วยการนำเสนอเนื้อหาแบบ “เล่นอัตโนมัติ” ตามด้วย “กำหนดการเล่นเองแบบอ่านให้ฟัง” แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านด้วยตนเองในรูปแบบ “กำหนดการเล่นเองแบบอ่านด้วยตนเอง” ตามลำดับ 3) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพ 75.50/76.66 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75  4) ผลการเรียนรู้หลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Dubosarsky, M., Murphy, B., Roehrig, G., Frost, L. C., Jones, J., Carlson, S. P. et al. (2011). Incorporating Cultural Themes to Promote Preschoolers’ Critical Thinking in American Indian Head Start Classrooms. Young Children, 66(5), 20-29.

2. Huennekens, M. E. & Xu, Y. (2010). Effects of a cross-linguistic storybook intervention on the second language development of two preschool English language learners. Early Childhood Educ, 38, 19-26.

3. Kennedy, L. Z., Abdelaziz, Y. & Chiasson, S. (2017). Cyberheroes: The design and evaluation of an interactive ebook to educate children about online privacy. International Journal of Child-Computer Interaction, 13, 10-18.

4. Krashen, S. D. (2009). Principles and Practice in Second Language Acquisition [Online]. Retrieved January 20, 2017, from: http://www.sdkrashen.com/content/books/principles_and_ practice.pdf

5. Makaramani, R. (2013). Thai Teachers and ICT. The Teachers’ Council Conference 2013, September 14-15, 2013. Bangkok: The Teachers’ Council. (in Thai)

6. Panich, W. (2015). How to develop the learning for Disciple in 21st Century. The Journal of Learning Innovation, 1(2), 3-14. (in Thai)

7. Pariyawatid, P. & Napapongs, W. (2016). Effecting Augmented Reality Code of Chiness Vocabularies Lesson for Grade 3 Students at Tessaban 2 Wattaninarasamosorn. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(1), 9-17. (in Thai)

8. Phadung, M., Suksakunchai, S. & Kaewprapan, W. (2016). Interactive whole language e-story for early literacy development in ethnic minority children. Education and Information Technologies, 21(2), 249-263.

9. Phadung, M., Suksakulchai, S., Kaewprapan, W., Somrueng, S., Anuntrasena, P. & Panaejakah, R. (2013). States of Learning Experience for the Preschool Children using Thai as Second Language and Tendency of Bilingual Multimedia Development: Case study of Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 8(1), 31-39. (in Thai)

10. Pulpipat, N. (2014). Teaching for Tackling Illegible Problem. FEU Academic Review, 7(2), 48-54. (in Thai)

11. Roskos, K., Brueck, J. & Widman, S. (2009), Investigating analytic tools for e-book design in early literacy learning, Journal of Interactive Online Learning, 8(3), 218–240.

12. Songmuang, J. (2012). Development of E-Learning System for Instruction in Islamics Private Schools. Doctor’s Thiesis. Prince of Songkla University. (in Thai)