โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

Main Article Content

ลักษณา ไชยมงคล

บทคัดย่อ

อาหารนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต และการมีอายุยืนยาวของผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน หากผู้ป่วยได้รับการดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยก็จะมีภาวะโภชนาการดี  ช่วยให้ยาที่รับประทานดูดซึมได้ดี หรือแม้กระทั่งช่วยบรรเทาอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันได้  เนื่องจากผู้ป่วย    พาร์กินสันแต่ละรายอาจจะมีปัญหาทางโภชนาการที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้ได้นำเสนอแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 5 เรื่อง ด้วยกัน คือ 1) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ 2) แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของยาลีโวโดปาในการรักษา 3) แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน  4) แนวทางการบริโภคอาหารในภาวะที่กลืนลำบาก 5) แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อแก้ปัญหาท้องผูก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2556). ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ฟื้นฟู, 23(3), 73-80.

2. ลักษณา ไชยมงคล. (2542). กินอยู่อย่างไร ในยุค IMF?. คำถามนี้มีคำตอบ. รูสะมิแล, 20(1), 54-61.

3. Barichella, M., Cereda, E. & Pezzoli, G. (2009) Major nutritional issues in the management of Parkinson’s disease. Movement Disorder, 24(13), 1881-1892.

4. Erro, R., Brigo, F., Tamburin, S., Zamboni, M., Antonini, A. & Tinazzi, M. (2018) Nutritional habits, risk, and progression of Parkinson disease. Journal of Neurology, 265, 12-23.

5. Kones, R. (2010) Parkinson’s disease: Mitochondrial molecular pathology, inflammation, statin, and therapeutic neuroprotective nutrition. Nutrition in Clinical Practice, 25(4), 371-389.

6. Parkinson’s Disease Society (2008) Parkinson’s and diet (online). Available from:
http://www.parkinsons.org.uk/pdf/B065_Parkinsonsanddiet.pdf [December 17, 2012].

7. Seidl, S. E., Santiago, J. A., Bilyk, H. and Potashkin, J. A. (2014). The emerging role of nutrition in Parkinson’s disease. Frontiers in Aging Neuroscience 6, doi:10.3389/fnagi.2014.00036.