การวิเคราะห์ทางเรขาคณิตสัณฐานวิทยาเชิงจุดกำหนดของเส้นปีกแมลงปอบ้าน 2 ชนิด ระหว่าง Brachythemis contaminata และ Diplacodes trivialis

Main Article Content

พีรวิชญ์ สุขพัฒน์
วีรนุช แซ่ตั้ง
พิสิษฐ์ พูลประสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการแยกความแตกต่างของแมลงปอบ้าน 2 ชนิด ได้แก่ Brachythemis contaminata และ Diplacodes trivialis  ในวงศ์ Libellulidae ที่เก็บตัวอย่างจากเขตพื้นที่ของจังหวัดพิจิตร-พิษณุโลก โดยอาศัยการวิเคราะห์ทางเรขาคณิตสัณฐานวิทยาจากเส้นปีก จำนวน 120 ปีก ซึ่งได้มาจากปีกทั้งเพศผู้และเพศเมียของแมลงปอบ้านในแต่ละชนิด (30 ปีกต่อเพศของแต่ละชนิด) จากนั้นทำการกำหนดตำแหน่งจุดตัดบนภาพปีกขาวที่ถ่ายภายใต้กล้องดิจิตอลจำนวน 15 จุด และวิเคราะห์ผ่านโปแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของเส้นปีกคู่หน้าของแมลงปอบ้านระหว่างทั้งสองเพศในชนิดเดียวกันมีความสัมพันธ์กันมากกว่าแมลงปอในเพศเดียวกันแต่ต่างชนิด ในการนี้อาจกล่าวได้ว่าการใช้เทคนิคทางเรขาคณิตสัณฐานวิทยากับปึกสามารถแยกกลุ่มหรือชนิดของแมลงปอบ้านได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถใช้เพื่อจัดกลุ่มจากเพศที่แตกต่างกันได้อีกด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเรขาคณิตสัณฐานวิทยาของเส้นปีกสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาถึงชีววิทยาเชิงอนุกรมวิธานของแมลงปอบ้านรวมทั้งแมลงชนิดอื่นๆ หรือซากฟอสซิลที่เป็นส่วนปีกของแมลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนกวรรณ ชัยสิทธิ์, นิศากร บดีรัฐ, ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ และทิพย์วรรณ สรรพสัตย์. (2559). ความแปรผันทางสัณฐานวิทยาของโครงสร้างปีกในชันโรงสกุล Tetrigona. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ The 8th Science Research Conference. มหาวิทยาลัยพะเยา. หน้า 127-133.

2. ทิพย์วรรณ สรรพสัตย์ และมณฑกานต์ บุญหิน. (2557). ความผันแปรในปีกชันโรง Tetragonilla collina บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางมอร์ โฟเมตริกและเรขาคณิตสัณฐานวิทยา. ในวารสารการประชุมครั้งที่ 4 : อนุกรมวิธานลซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร. หน้า 37-45.

3. พิสุทธิ์ เอกอำนวย. (2541). แมลงปอของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท บี พริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด

4. เสาวลักษณ์ ตอโนนสูง. (2555). ความผันแปรทางสัณฐานวิทยาของปีกชันโรงสกุล Ttigona. การศึกษาอิสระ. พะเยา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

5. Benke, A. C. & Benke, S. S. (1975). Comparative Dynamics & Life Histories of Coexisting Dragonfly Population. Ecology, 56, 302-317.

6. Blois, C. (1985). Diets & Resource Partitioning between Larvae of Tree Anisopteran Species. Hydrobiologia, 126, 221-227.

7. Carle, F. L. (1979). Environmental Monitoring Potential of the Odonata, with a List of Rare & Endangered Anisoptera of Virginia, United States. Odontologica, 8, 319-323.

8. Corbet, P. S. (1999). Dragobflies: Behaviour & Ecology of Odonata. Colchteesr: Harley Books.
Crowley, P. H. & Johnson. 1982. Habitat and Seasonality as Niche Axesin an Odonata Community. Ecology, 63, 1064-1077.

9. Daly, H. V. (1985). Insect Morphometrics. Annual Review Entomology, 30, 415-438.

10. Demayo, C. G., Harun, S. A. & Torres, M. A. J. (2011). Procrustes Analysis of wing Shape Divergence among Sibling Species of Neurothemis Dragonflies. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 5(6), 748–759.

11. Hennig, W. (1981). Insect Phylogeny. Translated and Edited by Adrian C. Pont, Revisionary Notes by Dieter Schlee and 9 Collaborators. New York: John Wiley and Sons.

12. Johnson, D. M. (1991). Behavioral Ecology of Larval Dragonflies and Damselflies. Trends in Ecology and Evolution, 6, 8–13.

13. Johnson, L., Mantle, B. L., Gardner, J. L. & Backwell, P. R. Y. (2013) Morphometric Measurements of Dragonfly Wings: The Accuracy of Pinned, Scanned and Detached Measurement Methods. ZooKeys, 276, 77–84.

14. Kumar, A. (1996). A Comparative Study on Stomach – Content & Forage Ratio of Zygoptera & Anisopteran Larvae in a Fish Pond of Santhal Pargana (Bihar), India. Proc. Natl. Acad. Sci. India. B. Biol. Sci, 66, 315-321.

15. Lee, Y. H. & Lin C. P. (2012). Morphometric and Genetic Differentiation of Two Sibling Gossamer–Wing Damselflies, Euphaea formosa and E. yayeyamana, and Adaptive Trait Divergence in Subtropical East Asian islands. Journal of Insect Science, 12(53), 1-17.

16. Mahato, M. (2000). Resource Partitioning among Larvae of Six Coexisting Odonate Spices of the Kali Gandaki River, Central Napal (Anisoptera). Odontologica, 29, 209-233.

17. Rattanawannee, A., Chanchao, C & Wongsiri, S. (2010). Gender and Species Identification of Four Native Honey Bees (Apidae: Apis) in Thailand Based on Wing Morphometic Analysis. Entomological Society of America, 103(6), 965-970.

18. Rattanawannee, A. Jeratthitikul, E, Duangpakdee, O & Oldroyd, B. P. (2017). Mitochondrial Sequencing and Geometric Morphometrics Suggest Two Clades in the Tetragonilla collina (Apidae: Meliponini) Population of Thailand. Apidologie. 1-13.

19. Rohlf, F. J. (2010a). tpsDig. Version 2.04. Ecology & Evolution. USA: State University of New York at Stony Brook.

20. Rohlf, F. J. (2010b). tpsRelw. Version 1.49. Ecology & Evolution. USA: State University of New York at Stony Brook.