การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของปลาหมอสีคางดำ Sarotherodon melanotheron Rüppell, 1852

Main Article Content

อัมภรณ์พรรณ พลาศัย
ศิลปชัย เสนารัตน์
เจษฏ์ เกษตระทัต
วรรณีย์ จิรอังกูรสกุล
พหล โกสิยะจินดา
ธีรกมล เพ็งสกุล
ชำนาญ ภารา

บทคัดย่อ

สถานการณ์การหลุดรอดของปลาหมอสีคางดำ Sarotherodon melanotheron สู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเชื่อว่าปลาชนิดนี้สร้างความเสียหายต่อห่วงโซอาหารในระบบนิเวศของสัตว์น้ำท้องถิ่นของประเทศไทย จนเกิดเป็นประเด็นร้อนและมีการติดตามศึกษาอย่างต่อเนื่อง “เหตุใดปลาชนิดนี้ถึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว” ในการศึกษาครั้งนี้เริ่มด้วยการศึกษาระยะเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของปลาหมอสีคางดำ เพื่อทำนายคุณภาพเซลล์ไข่ ด้วยเทคนิคมิญชวิทยา โดยนำตัวอย่างปลาหมอสีคางดำเพศเมีย 10 ตัว ที่มีความยาวเหยียดมากกว่า 16 เซนติเมตร จากเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดเพชรบุรี ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่าปลาหมอคางดำเพศเมียมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.13±1.23 (Mean ± SD) และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งการพัฒนาของเซลล์ต้นกำเนิดไข่ ระยะที่สอง การพัฒนาเซลล์ไข่ขั้นปฐมภูมิที่ประกอบด้วยเพอรินิวคลีโอลัส และขั้นลิพิดดรอปเลทส์ และคอร์ติคัล แอลวิโอไล ระยะที่สามระยะ การพัฒนาเซลล์ไข่ขั้นทุติยภูมิที่ประกอบด้วยขั้นแรกของการพัฒนาเซลล์ไข่ทุติยภูมิ  ขั้นท้ายของการพัฒนาเซลล์ไข่ทุติยภูมิ และขั้นการเจริญเต็มที่ของเซลล์ไข่ และระยะที่สี่คือ ระยะเซลล์ไข่ฝ่อ นอกจากนี้จากการนำข้อมูลทางด้านมิญชวิทยาของเซลล์ไข่ พบการฝ่อของเซลล์ไข่น้อยมากในระยะการพัฒนาเซลล์ไข่ขั้นทุติยภูมิ คิดเป็นร้อยละ 4  แสดงให้เห็นว่าคุณภาพเซลล์ไข่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพดีมากและคาดว่าน่าจะมีความสำเร็จสูงในการสืบพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยวุฒิ สุดทองคง. (2560). ปลาหมอสีคางดํา (Blackchin tilapia) Sarotherodon melanotheron Rüppell, 1852
[Online]. ค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561. จาก : http://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20171114193058_1_file.pdf.

2. Bancroft, J. D. & Gamble, M. (2002). Theory and Practice of Histological Techniques. London: Churchill Livingstone.

3. Coward, K. & Bromage, N. R. (1998). Histological Classification of Oocyte Growth and the Dynamics of Ovarian Recrudescence in Tilapiz zillii. J. Fish Biol. 53, 285-302.

4. Dadzie, S. (1974). Oogenesis and the Stages of Maturation in the Female Cichlid Fish, Tilapia missambia. Ghana J. Sci. 14, 23-31.

5. Lubzens, E., G. Young, J. Bobe & J. Cerda, (2010). Oogenesis in Teleosts: How Fish Eggs are Formed. Gen. Comp. Endocrinol., 165, 367-389.

6. McCormick, J. H., Stokes, G. N. & Hermanutz, R.O. (1989). Oocyte atresia and reproductive success in fathead minnows (Pimesphales promelas) exposed to acidified hardwater environments. Arch. Environ. Contam. Toxicol. 18, 207-214.

7. Nagahama, Y. (1983). The Functional Morphology of Teleost Gonads. In Fish Physiology Vol. 9A. W.S. Hoar, D. J. Randall and E. M. Donaldson editors. New York: Academic Press.

8. dos Santos-Silve, A. P., de Siqueira-Silva, D. H., Ninhaus-Silveira, N. & Verissimao-Silverira, R. (2016). Oogenesis in Laetacara araguaiae (Ottoni and Costa, 2009) (Labriformes: Cichidae). Zygote. 24, 502-510.

9. Senarat, S., Kettretad, J. & Jiraungkoorskul, W. (2015). Classification Stages of Novel Atretic Structure in Short Mackerel Ratrilliger brachysoma (Bleeker, 1851) from the Upper Gulf of Thailand. Songklanakarin J. Sci. Technol. 37, 569-573.

10. Senarat, S., Kettretad, J. & Jiraungkoorskul, W. (2017). Ovarian Histology and Reproductive Health of Short Mackerel, Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851), as Threatened Marine Fish in Thailand. Songklanakarin J. Sci. Technol. 39, 225-235.

11. Tacon, P., Ndiaye, P., Cauty, C., Le Menn, F. & Jalabert, B. (1996). Relationship between the Expression of Maternal Behavior and Ovarian Development in the Mouthbrooding Cichlid Fish Oreochromis niloticus. Aquacult. 146, 261-275.

12. Uribe, M.C., Grier, H. J. & Parenti, L. R. (2012). Ovarian Structure and Oogenesis of the Oviparous Goodeids Crenichthys baileyi (Gilbert, 1893) and Empetrichthys latos Miller, 1948 (Teleostei, Cyprinodontiformes). J. Morphol. 273, 371-387.

13. Wallace, R. A. & Selman, K. (1990). Ultrastructural Aspects of Oogenesis and Oocyte Growth in Fish and Amphibians. J. Electron Microsc. Tech. 16, 175-201.

14. Wiegand, M. (1996). Composition, Accumulation and Utilization of Yolk Lipids in Teleost Fish. Rev. Fish Biol. Fisher. 6, 259-286.

15. Wilson, J. M., Bunte, R. M. & Carty, A. J. (2009). Evaluation of Rapid Cooling and Tricaine Methanesulfonate (MS222) as Methods of Euthanasia in Zebrafish (Danio rerio). J. Am. Assoc. Lab. Anim. Sci. 48, 785-789.