ความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงานกับผลการปฏิบัติงานโดยมีความยืดหยุ่นทางการรู้คิด การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ความยืนหยัดในงาน และการกำหนดเป้าหมาย ที่ท้าทายเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • กมล (Kamon) ศรีตั้งรัตนกุล (Sritangratanakul) นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วัชราภรณ์ (Watcharaporn) บุญญศิริวัฒน์ (Boonyasiriwat) อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

Relationship Between Vigor and Job Performance: The Mediating Effects of Cognitive Flexibility, Coworker Support, Task Persistence, and Difficulty of Self-Set Goals

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงาน (vigor) และผลการปฏิบัติงาน (job performance) และตรวจสอบอิทธิพลส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางการรู้คิด (cognitive flexibility) การช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน (coworker support) ความยืนหยัดในงาน (task persistence) และการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (difficulty of self-set goal) พนักงานชาวไทยจำนวนสามร้อยเก้าคนจากบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพฯตอบแบบสอบถามเพื่อรายงานความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าในงานความยืดหยุ่นทางการรู้คิดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายและผลการปฏิบัติงานตามการประเมินของตนเองหัวหน้างานของกลุ่มตัวอย่างประเมินการยืดหยัดในงานและผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านด้วยวิธี bootstrapping พบว่าความกระปรี้กระเปร่าในงานเป็นตัวทำนายทางบวกต่อผลการปฏิบัติงาน (คะแนนรวมของการประเมินด้วยตนเองและจากหัวหน้างาน, B = .98, R2= .35, F (3,305) = 53.53, p < .001) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .12, BCs 95% CI [.07, .19]) ความยืนหยัดในงาน (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .16, BCs 95% CI [.08, .25]) และการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .07 , BCs 95% CI [.01, .14]) เป็นตัวแปรส่งผ่านทางบวกในความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงานกับผลการปฏิบัติงานในขณะที่การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานไม่เป็นตัวแปรส่งผ่าน(ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .01, BCs 95% CI [-.06, .07])

คำสำคัญ:ผลการปฏิบัติงาน ความกระปรี้กระเปร่าในงาน ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด การช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน ความยืนหยัดในงาน การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย


Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

ศรีตั้งรัตนกุล (Sritangratanakul) ก. (Kamon), & บุญญศิริวัฒน์ (Boonyasiriwat) ว. (Watcharaporn). (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงานกับผลการปฏิบัติงานโดยมีความยืดหยุ่นทางการรู้คิด การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ความยืนหยัดในงาน และการกำหนดเป้าหมาย ที่ท้าทายเป็นตัวแปรส่งผ่าน. Journal of Behavioral Science for Development, 7(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/29916