ธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุดสาคร สิงห์ทอง
  • วรเดช จันทรศร

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, ผู้บริหารมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับธรรมาภิบาล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาล และปัจจัยทางทฤษฎีที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานแล้วส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ หน่วยวิเคราะห์ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ จำนวน 5 แห่ง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 244 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ไคว์สแควร์ การเปรียบเทียบพหุ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอย โดยโปรแกรม SPSS

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านความโปร่งใส อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .01 3) ระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 4) ตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปร เรียงตามความสำคัญคือ ความสามารถในการกำหนดนโยบายและการนำานโยบายไปปฏิบัติ ประสิทธิภาพการบริหารงานอย่างคุ้มค่า ภาวะผู้นำาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยการติดต่อสื่อสารในการปฏิบัติงาน และความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงาน เป็นชุดตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการอธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 54.0 โดยมีความคลาดเคลื่อนของการอธิบายเท่ากับ 9.119 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .01 และ 5) ปัจจัยทางทฤษฎีที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานแล้วส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการจัดลำาดับความสำาคัญแตกต่างกันในทุกมหาวิทยาลัย โดยทฤษฎีธรรมาภิบาลได้รับการนำมาใช้ในลำดับแรกเกือบทุกมหาวิทยาลัย ถัดมาคือ ทฤษฎีการบริหารในส่วนของการพัฒนาภาวะผู้นำและพฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีนโยบายสาธารณะในส่วนของการให้บริการสาธารณะและทฤษฎีการมีส่วนร่วม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07