ความหมายและการเปลี่ยนแปลงของตลาดริมน้ำคลองแดนในคาบสมุทรสทิงพระ สงขลา

ผู้แต่ง

  • มนัสสวาส กุลวงศ์
  • ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย

คำสำคัญ:

ตลาดริมน้ำคลองแดน, ความหมายและการเปลี่ยนแปลง, คาบสมุทรสทิงพระ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและการเปลี่ยนแปลงของตลาดริมน้ำคลองแดนในคาบสมุทรสทิงพระสงขลา  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์แบบเจาะลึก  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้รู้  ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการในตลาดน้ำ  นักท่องเที่ยว จำนวน  50 คน และใช้อายุคนเป็นเกณฑ์คือ รุ่นปู่ย่า รุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก นำแนวคิดเกี่ยวกับความหมายของตลาดน้ำและการโหยหาอดีตมาเป็นแนวทางการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความหมายตลาดน้ำคลองแดน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ นำเสนอผ่านวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า  ตลาดริมน้ำคลองแดนเป็นชุมชนวิถีชาวนา  เจริญเติบโตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่คนจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณชุมชนริมน้ำคลองแดนจึงกลายเป็นย่านการค้าสำคัญในคาบสมุทรสทิงพระโดย แบ่งออกเป็น 3 ยุค ด้วยกัน คือ ยุคแห่งความรุ่งเรืองเป็นยุคที่วิถีชีวิตคนคลองแดนผูกพันอยู่กับสายน้ำบนเส้นทางการค้าของเมืองสามคลองสองแดนคือสงขลาและนครศรีธรรมราช ความหมายของคลองแดนในยุคนี้คือย่านการค้าริมน้ำยุคที่สอง ยุคแห่งความร่วงโรย คือยุคที่ถนนสาย 408 สร้างขึ้น การสัญจรทางน้ำลดบทบาทลงจนถึงทำให้การค้าทางน้ำสิ้นสุดลง ความหมายของคลองแดนเปลี่ยนเป็นเมืองร้าง ยุคที่สามยุคฟื้นชีวิตตลาดริมน้ำคลองแดน  ยุคที่ตลาดริมน้ำคลองแดนฟื้นตัวภายใต้บริบทการท่องเที่ยว  ชุมชนตลาดคลองแดนเดิมถูกทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวย้อนยุค แหล่งศึกษาวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ ความหมายของตลาดคลองแดนจึงมีความหมายในฐานะที่เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่ตอบสนองรสนิยมย้อนอดีตของนักท่องเที่ยวในยุคบริโภคนิยม

References

กติกา ศรีรักษา. (2550). ความหมายและกระบวนการสร้างความหมาย "บ้าน" ในนิตยสารบ้านและสวน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติพร ใจบุญ. (2549). ตลาดกับชีวิต: บทสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องตลาดในสังคมไทย, ใน สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (บรรณาธิการ), ตลาดในชีวิต ชีวิตในตลาด, 21 กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2555). ความจริงแท้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต : กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณิตา ซองศิริ. (2553). การวิเคราะห์กระบวนการสร้างความหมายเรื่อง "การโหยหาอดีต" ในรายการปกิณกะทางโทรทัศน์ชุด "ตลาดสดสนามเป้า" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จเร สุวรรณชาต. (2552). รายงานสรุปสำหรับผู้บริหารโครงการศึกษาและจัดทำโครงการนำร่องปรับปรุงที่อยู่อาศัยและชุมชนในชนบทภาคใต้. สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2555). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวิช จตุวรพฤกษ์. (2548). พรมแดน อัตลักษณ์และกระบวนการกลายเป็นสินค้า: การเมืองและ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นวล สารสอน. (2533). ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลต่อสภาพสังคมเศรษฐกิจที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัทธมน บวรกุลกิจทวี. (2555). ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นตลาดน้ำ อัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัฒนา กิติอาษา, (บรรณาธิการ). (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตใน สังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พิชญาภรณ์ ขุนจันทร์. (2558). “ตลาด การสัญจรและถิ่นฐานของผู้คน.” ใน ย้อนรอยตลาดคลอง แดน.นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์กรีนโซนอินเตอร์ 2011.

มณีวรรณ ผิวนิ่ม. (2546). พัฒนาการและผลกระทบของการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มนัสสวาส กุลวงศ์. (2561). พลวัตและการประกอบสร้างความหมายของตลาดน้ำในคาบสมุทร สทิงพระ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุทธกาน ดิสกุล. (2553). ประเพณีประดิษฐ์และอัตลักษณ์ชุมชนคลองแห (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินิจ รังผึ้ง. (2543). ตลาดน้ำวัดลำพญา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการ.

บุคลานุกรม
กานดา ทิพย์จันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 1 ตำบล รามแก้ว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559.

เกรียงไกร อนันตพงศ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559.

เชาวเรศ ฉันทวิโรจน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559.

ประจวบ รัตติโชติ (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบล คลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 25 กันยายน2559.

ปราณี เพ็ชรมณี (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559.

ระเบียบ ภักดีฉนวน (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่บ้านยายเลียบโฮมสเตย์ คลองแดนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2559.

ศรีสุดา โชติกะ (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2559.

สมเกียรติ หนูเนียม (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559.

ส้อง ฆังคะมณี (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสสวาส กุลวงศ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30